- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงมากกว่าเบรนท์ เนื่องจากโรงกลั่นในสหรัฐฯ เริ่มหันมาหาซื้อน้ำมันดิบจากแอฟริกาตะวันออกและจากแถบเมดิเตอร์เรเนียนเนื่องด้วยราคาที่ปรับลดลงมาก ประกอบกับแรงกดดันหลังกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ รายงายถึงสต็อกน้ำมันดิบที่มีสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งนี้น้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ มีปริมาณเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 360 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 ล้านบาร์เรล ประกอบกับปริมาณการส่งมอบน้ำมันที่จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮม่า ลดลงไปโดยเฉลี่ย 225,000 บาร์เรลต่อวัน
- นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกลงเป็นครั้งที่สามของปี โดยมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจที่ซบเซาของยุโรป ญี่ปุ่นและบราซิล โดยเศรษฐกิจโลกปรับลดจากที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ 3.4% ในปี 2557 และ 4% ในปี 2558 มาอยู่ที่เติบโตที่ 3.3 % ในปี 2557 และ 3.8% ในปี 2558
- ปริมาณการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของประเทศเยอรมันปรับตัวลดลง 4% ซึ่งมากกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ที่ปรับลด 1.5% และนับว่ามากที่สุดนับแต่เดือน ก.ค. 2552 แม้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมันในช่วงเปิดปี 2557 จะมีความแข็งแกร่งมากแต่ในช่วงไตรมาสที่สองของปีกลับหดตัวลง 0.2% และมีแนวโน้มจะปรับลดลงไปมากกว่านี้ในช่วงไตรมาสที่สามของปี
- แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงไปมากอย่างน่าตกใจทำให้ประเทศในกลุ่มโอเปกอย่างอิหร่านและประเทศอื่นๆ มีความประสงค์จะหารือเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตลง แต่ประเทศแกนนำอย่างซาอุดิอาระเบียกลับไม่มีความกังวลใดๆ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะจัดการประชุมขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าอุปสงค์หน้าหนาวที่กำลังจะมาถึงจะสามารถพยุงราคาของน้ำมันดิบได้ ทั้งนี้กำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกสูงถึง 30.96 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ พ.ย. 2555 เนื่องจากกำลังการผลิตที่ฟื้นตัวของกลุ่มโอเปกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศลิเบีย
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ตึงตัวในภูมิภาคและอุปสงค์ที่ดีจากอินโดนีเซีย นอกจากนี้ราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของสหรัฐฯ และยุโรปหลังโรงกลั่นหลายแห่งกำลังอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ ด้วยแรงกดดันของอุปทานที่ล้นตลาดจากจีนและอินเดียหลังอุปสงค์ภายในภูมิภาคอ่อนตัว ประกอบกับแรงกดดันจากโรงกลั่นใหม่ของตะวันออกกลางที่กำลังจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 88-94 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 90-96 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนในฮ่องกง ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งฮ่องกงเป็นเป็นช่องทางหนึ่งที่จีนใช้เป็นฐานเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ทั้งทางด้านตลาดทุน ตลาดเงินและการขนส่ง เหตุการณ์นี้อาจทำให้เศรษฐกิจจีนที่ยังคงซบเซาอยู่เลวร้ายไปกว่าเดิม และส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบย่ำแย่ด้วยเช่นกัน
ยังคงต้องจับตามองถึงประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวของอีซีบี ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเงินฝืด และจะทำให้อุปสงค์การใช้น้ำมันในภูมิภาคกลับมาได้หรือไม่
ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ต.ค. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ในวันที่ 7 ต.ค. และ OPEC ในวันที่ 10 ต.ค. ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกในปีนี้ลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังคงกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวที่ลดลงของผู้บริโภคน้ำมันอันดับสองของโลกอย่างจีน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ของอีซีบี
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันศุกร์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ - ก.ย. 57
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันพุธดัชนีภาคการบริการจีน (HSBC) - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) - ต.ค. 57
วันพฤหัสยอดค้าส่งสหรัฐฯ - ส.ค. 57
วันศุกร์ดุลการค้าจีน - ก.ย. 57
ข่าวเด่น