- นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบจากแคนาดามายังสหรัฐ ฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 3.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับลดลง 135,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นสูงมาก
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกปี 2557 ลดลงเหลือ 91.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมเดือน ก.ย. ที่คาดว่าอยู่ที่ 91.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นผลจากการคาดว่าการบริโภคน้ำมันดิบจะขยายตัวลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวันเทียบจากคาดการณ์เดือนก่อนหน้า
- เศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลกยังคงซบเซา หลังดัชนีภาคบริการของจีน (PMI) ในเดือน ก.ย. ลดลงแตะระดับ 53.5 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ 54.1 ในเดือน ส.ค.
- การเจรจานิวเคลียร์รอบต่อไประหว่างอิหร่านและประเทศมหาอำนาจจะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้าที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยมีการระบุว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นว่าควรแก้ไขปัญหานิวเคลียร์อิหร่านด้วยการเจรจา แม้ว่าขณะนี้การเจรจามีความคืบหน้าช้ามาก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังราคาผลิตภัณฑ์สารตั้งต้นที่ใช้ผลิตน้ำมันเบนซินลดต่ำลงเนื่องจากปริมาณคงคลังที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีอุปทานที่ตึงตัวในภูมิภาคและอุปสงค์จากอินโดนีเซียช่วยหนุนราคาน้ำมันเบนซินไม่ให้ลดต่ำลงมากนัก
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลจากอินเดียปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตหลายรายในภูมิภาคได้ออกมาขายน้ำมันดีเซลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุปทานล้นตลาด นอกจากนี้อุปสงค์ที่ลดน้อยลงในภูมิภาคยังช่วยกดดันราคาน้ำมันดีเซลอีกด้วย
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 86-92 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 90-96 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนในฮ่องกง ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งฮ่องกงเป็นเป็นช่องทางหนึ่งที่จีนใช้เป็นฐานเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ทั้งทางด้านตลาดทุน ตลาดเงินและการขนส่ง เหตุการณ์นี้อาจทำให้เศรษฐกิจจีนที่ยังคงซบเซาอยู่เลวร้ายไปกว่าเดิม และส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบย่ำแย่ด้วยเช่นกัน
ยังคงต้องจับตามองถึงประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวของอีซีบี ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเงินฝืด และจะทำให้อุปสงค์การใช้น้ำมันในภูมิภาคกลับมาได้หรือไม่
ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ต.ค. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ในวันที่ 7 ต.ค. และ OPEC ในวันที่ 10 ต.ค. ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกในปีนี้ลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังคงกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวที่ลดลงของผู้บริโภคน้ำมันอันดับสองของโลกอย่างจีน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ของอีซีบี
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันศุกร์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ - ก.ย. 57
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันพุธดัชนีภาคการบริการจีน (HSBC) - ก.ย. 57
วันพฤหัสยอดค้าส่งสหรัฐฯ - ส.ค. 57
วันศุกร์ดุลการค้าจีน - ก.ย. 57
ข่าวเด่น