- ราคาน้ำมันดิบเบนรท์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องแตะระดับ 85 เหรียญสหรัฐฯ นับเป็นการลดลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี53 และราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสมีการปรับลดลงอย่างมากเช่นกัน สาเหตุหลักมาจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง โดยลดลง 250,000 บาร์เรลต่อวันในปี 57และ 90,000 บาร์เรลต่อวันในปี 58 ทำให้ความต้องการน้ำมันของกลุ่มOPEC น่าจะลดลงถึง 200,000 บาร์เรลต่อวันทั้งสองปี รวมทั้งอุปทานน้ำมันที่สูงขึ้น โดยล่าสุดโอเปกยังคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม โดยเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบจะลดลงในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ประกอบค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นในรอบ 4 ปี
- สำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA )คาดการณ์ว่าการผลิต Shale Oil ของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอีก 106,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือนพ.ย. ซึ่งกดดันราคาน้ำมันให้ต่ำลงไปอีก
+/- ทางด้านเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา โดยเฉพาะฝั่งยุโรปและจีน เห็นได้จากประเทศผู้นำเศรษฐกิจอย่างเยอรมนีมีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจไม่ดีนัก อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จาก ZEW เชื่อว่าเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในไม่ช้าเนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่แข็งแกร่ง
- ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.ของกลุ่มสหภาพยุโรปฯ อยู่ที่ระดับ 4.1 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 10.1จุด ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีดังกล่าวเกิดจากความหวั่นวิตกต่อเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่อยู่ในภาวะชะลอตัว
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันในภูมิภาคลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังได้รับการสนับสนุนจากตลาดอินโดนิเซียที่คาดว่าจะนำเข้าน้ำมันเบนซินมากกว่า 11 ล้านบาร์เรลในเดือน พ.ย.
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ปริมาณอุปทานน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ในระดับที่สูง หลังอินเดียและตะวันออกกลางยังคงส่งออกเข้ามาในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงเบาบาง กดดดันราคาน้ำมันให้ลดต่ำลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 80-85 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 83-88 หรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จีดีพีไตรมาส 2/57 ของยุโรป ที่จะประกาศเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มอ่อนแอลง หลังจากการประกาศจีดีพีไตรมาส 2/57 ครั้งที่ 2 ซึ่งต่ำกว่าคาด ที่ขยายตัวได้เพียง 0.2% เท่านั้น
การประชุมติดตามความคืบหน้าต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ต.ค. ที่กรุงเวียนนาว่าอิหร่านมีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนมากน้อยเพียงใด
ติดตามว่ารายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ต.ค. ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 14 ต.ค. นี้จะมีการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการขยายตัวที่ลดลงของจีนและหลายประเทศในยุโรป ขณะที่สำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์ว่าสภาพอากาศในฤดูหนาวปีนี้จะอบอุ่นกว่าฤดูหนาวปีที่แล้ว ทำให้อุปสงค์น้ำมันเพื่อทำความอบอุ่น (heating oil) อาจปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ดุลการค้าจีน - ก.ย. 57
วันอังคารการผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป - ส.ค. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจยุโรป - ต.ค. 57
วันพุธดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ยอดขายปลีกสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - ก.ย. 57
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - ก.ย. 57
วันพฤหัสการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีราคาผู้บริโภคยุโรป - ก.ย. 57
วันศุกร์ยอดการขอสร้างบ้านใหม่ - ก.ย. 57
จีดีพีไตรมาส2/57 ยุโรป
ข่าวเด่น