+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตัวแทนลิบียหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปก (OPEC) ออกมาแสดงท่าทีว่าในการประชุมวันที่ 27 พ.ย. ที่จะถึงนี้ สมาชิกควรมีการพิจารณาเพื่อปรับลดเป้าหมายกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 ราว 500,000 บาร์เรลต่อวัน จากระดับ ณ ปัจจุบันที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อลดแรงกดดันของปริมาณอุปทานล้นตลาดซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สมาชิกในกลุ่มโอเปกบางรายเช่น ซาอุดิอาระเบียและกลุ่มแอฟริกายังคงไม่เห็นด้วยกับการลดกำลังการผลิตดังกล่าว
- ปริมาณอุปทานน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกในเดือน ก.ย. ปรับตัวลดลง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรงต่อวัน จากระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสาเหตุของอุปทานที่ลดลงดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการปรับลดกำลังการผลิตแต่อย่างใด แต่เป็นผลสืบเนื่องจากการใช้น้ำมันดิบในภาคไฟฟ้าที่ลดลงหลังสิ้นสุดฤดูร้อนอย่างไรก็ตาม ซาอุดิอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกยังคงไม่มีท่าทีที่จะยอมปรับลดกำลังการผลิตลง โดยได้กล่าวในการประชุมกับนักลงทุนว่า ซาอุดิอาระเบียพร้อมที่จะยอมรับระดับราคาน้ำมันที่ต่ำกว่า 80-90 เหรียญสหรัฐฯ เป็นระยะเวลานาน 1-2 ปี
+ ดัชนีภาคการผลิตจีนและยุโรปประจำเดือน ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2 จุด และ 0.4 จุดตามลำดับ มาอยู่ ณ ระดับ 50.4 จุด และ 50.7 จุด ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการผลิตจีนและยุโรป
- ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1.3 จุด มาอยู่ที่ระดับ 56.2 จุด ซึ่งแสดงถึงภาคการผลิตสหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากกำลังการผลิตของโรงกลั่นในประเทศที่ปรับตัวลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันเบนซินที่ตลาดสหรัฐฯ ประกอบกับอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงอ่อนแรง อย่างไรก็ดีตลาดยังได้รับแรงหนุนจากอุปทานน้ำมันเบนซินจากประเทศอินโดนีเซียที่มีอย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ล้นตลาดในภูมิภาคซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงเบาบาง ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการส่งออกน้ำมันดีเซลจากอินเดียและจีน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 80-85 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 83-88 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาทีท่าของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกว่าจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง เพื่อมาพยุงราคาน้ำมันไว้หรือไม่ แม้ซาอุดิอาระเบียยืนยันว่าสามารถยอมรับราคาน้ำมันดิบที่ระดับต่ำในขณะนี้ได้ และแสดงให้เห็นว่าซาอุดิอาระเบียอาจจะไม่ปรับลดปริมาณการผลิตลงในเร็ววันนี้ แต่ประเทศสมาชิกคนอื่นๆ เริ่มส่งสัญญาณว่าต้องการจะปรับลดการผลิตของกลุ่มลง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพุธดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) - ต.ค. 57
วันพฤหัสดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit) - ต.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Markit) - ต.ค. 57
วันศุกร์ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันอังคารยอดขายสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ต.ค. 57
วันพฤหัสจีดีพี ไตรมาส 3/57สหรัฐฯ
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคยุโรป - ต.ค. 57
วันเสาร์ดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS) - ต.ค. 57
ข่าวเด่น