- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับตัวลดลงอีกครั้งหลังเพิ่มขึ้นเพียงวันเดียวเมื่อวันก่อนหน้า หลังตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบของอิรักเดือน ต.ค. มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. โดยตัวเลขล่าสุด 23 วันแรกของเดือน รายงานว่ามีการส่งออกเฉลี่ยราว 2.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในประวัติกาลที่ 2.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา
- ขณะที่การผลิตน้ำมันดิบของลิเบียแม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศอยู่บ้างแต่การผลิตก็ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและยังคงไม่มีแนวโน้มว่าลิเบียจะลดกำลังผลิตของประเทศลง ทั้งนี้เนื่องจากลิเบียยังคงต้องการรายได้จากการส่งออกน้ำมันเพื่อเติมเต็มงบประมาณของประเทศ อย่างไรก็ตาม ลิเบียก็พยายามเรียกร้องให้ประเทศยักษ์ใหญ่ของกลุ่มตัดสินใจลดการผลิตลง
-/+ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าอยู่ในขณะนี้ยังคงส่งผลให้นักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดโภคภัณฑ์ไปลงทุนในตลาดเงินตราต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายวันเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอื่นๆ ท่ามกลางความวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา ที่ล่าสุดมีการยืนยันผู้ติดเชื้อรายแรกในนิวยอร์กแล้วเป็นแพทย์ชาวนิวยอร์กที่เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศกีนีในแอฟริกาตะวันตก
+ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ เดือน ก.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ราว 467,000 ยูนิต หรือคิดเป็น 1.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวถือว่าไม่ได้เป็นการปรับเพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากมีการปรับลดตัวเลขของเดือน ส.ค. ลงจากเดิมที่ประกาศไว้ที่ 504,000 เหลือเพียง 466,000 ยูนิต
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี มีข่าวว่าการส่งออกของจีนมีแนวโน้มปรับลดลงหลังความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งยังมีแรงซื้อจากอินโดนีเซียเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่องและมีแรงซื้อเล็กน้อยจากมาเลเซียและศรีลังกา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์จะปรับลงเล็กน้อยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังคงถือว่าอยู่ในระดับสูง ประกอบกับขาดโอกาสในการส่งน้ำมันไปขายยังฝั่งตะวันตก ในภาวะที่ความต้องการใช้ในภูมิภาคอยู่ในระดับต่ำ
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 80-85 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 83-88 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาทีท่าของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกว่าจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง เพื่อหวังพยุงราคาน้ำมันดิบ หรือเพื่อรักษาสัดส่วนการส่งออกในตลาดไว้หรือไม่ แม้ซาอุดิอาระเบียยืนยันยอมรับราคาน้ำมันดิบที่ระดับต่ำในขณะนี้ได้ แต่ประเทศสมาชิกคนอื่นๆ เริ่มส่งสัญญาณว่าต้องการจะปรับลดการผลิตของกลุ่มลง
ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 28-29 ต.ค. นี้ ที่มีความเป็นไปได้สูงถึงการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงเหลือศูนย์ในการประชุมเดือนนี้ รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ล่าสุดธนาคารกลางฯ มีแนวโน้มจะตรึงดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปอีกซักระยะ จนกว่าจะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากพอ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันอังคารยอดขายสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ต.ค. 57
วันพฤหัสจีดีพี ไตรมาส 3/57สหรัฐฯ
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคยุโรป - ต.ค. 57
วันเสาร์ดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS) - ต.ค. 57
ข่าวเด่น