- ตลาดจับตามองผลการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงระหว่างอิหร่านและประเทศมหาอำนาจทั้ง 6 ในประเด็นการยุติโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่จะสิ้นสุดกรอบระยะเวลาที่กำหนดในวันที่ 24 พ.ย. นี้ โดยล่าสุดนาย John Kenry รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวยังคงมีความไม่แน่นอนซึ่งส่งผลให้อาจต้องมีการจัดประชุมเพื่อร่วมหารืออย่างเร่งด่วนในสัปดาห์หน้า ณ ประเทศโอมาน อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงดังกล่าวประสบผลสำเร็จจะส่งผลให้ไม่มีการแทรกแซงเพื่อควบคุมการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านอีกต่อไป ซึ่งอาจทำให้ปริมาณอุปทานน้ำมันดิบของโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- การปรับตัวแข็งค่าขึ้นของค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรยังคงกดดันราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ภายหลังธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.05% โดยอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังคงยืนอยู่ที่ระดับต่ำเพียง 0.4% ในเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นสัญญาณสะท้อนถึงสภาวะเศรษฐกิจยุโรปที่อ่อนแอลงท่ามกลางความวิตกกังวลในความเสี่ยงของสภาวะเงินฝืนที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้ตลาดจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าอีซีบีจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนออกมาในเร็วๆ นี้หรือไม่
+ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ย. ปรับตัวลง 10,000 ราย มาอยู่ที่ 278,000 ราย มากกว่าที่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 285,000 ราย และนับเป็นการปรับตัวในระดับต่ำกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของตัวเลขดังกล่าวนับเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงสภาวะของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่เริ่มมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากอินโดนีเซีย ทั้งนี้ มีการคาดว่าอุปสงค์จากอินโดนนีเซียในเดือน พ.ย. จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 11.5 ล้านบาร์เรล จากระดับปกติที่ 9-10 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอุปทานจากไต้หวันและตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดี ตลาดน้ำมันดีเซลยังคงมีแรงหนุนจากปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากจีนเพื่อรองรับอุปทานที่คาดว่าจะขาดหายไปในช่วงการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 76-81 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 82-88 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาท่าทีของสมาชิกในกลุ่มโอเปกต่อการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง ในขณะนี้ยังคงไม่มีสัญญาณใดๆ จากทางกลุ่ม ซึ่งล่าสุดเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ หนึ่งในประเทศสมาชิกที่มีจุดคุ้มทุน (Breakeven Cost) ของการสำรวจและผลิตน้ำมันดิบ สูงกว่าราคาน้ำมันดิบในตอนนี้ ได้ร่วมมือกันร่างข้อเสนอเพื่อหามาตรการพยุงราคาน้ำมันไว้
โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ทยอยกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงไม่มากนัก
รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน พ.ย. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) และ โอเปก ในวันที่ 12 พ.ย. รวมถึงจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 14 พ.ย. ติดตามว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกในปีนี้และปีหน้าลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ของอีซีบี
วันจันทร์ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - ต.ค. 57
ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - ต.ค. 57
วันพุธการผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป - ก.ย. 57
วันพฤหัสการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - ต.ค. 57
ยอดขายปลีกจีน - ต.ค. 57
วันศุกร์ยอดขายปลีกสหรัฐฯ - ต.ค. 57
ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ- ต.ค. 57
ดัชนีราคาผู้บริโภคยุโรป - ต.ค. 57
จีดีพียุโรป ไตรมาส 3/57
ข่าวเด่น