+ นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีภาคบริการของสหรัฐฯ (PMI) เดือน พ.ย. ขยายตัวสู่ระดับ 59.3 จาก 57.1 ในเดือน ต.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 57.5 เท่านั้น ส่งสัญญาณว่ากิจกรรมในภาคบริการของสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว นอกจากนี้ตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 208,000 ตำแหน่ง แม้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นน้อยลง แต่ยังเป็นการเพิ่มขึ้นเกิน 200,000 ตำแหน่งติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง หลังมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มโอเปกยังคงยืนกรานที่จะไม่ปรับลดกำลังการผลิต และเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบยังสามารถยืนอยู่ได้ถึงระดับ 60 เหรียญฯ นอกจากนี้ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากมติของกลุ่มโอเปกเมื่อก่อนหน้านี้ในการคงเพดานการผลิตที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+/- นอกจากนี้ตลาดจับตาการหาวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของยุโรป ในการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันนี้ (4 ธ.ค.) เนื่องจากเงินเฟ้อที่ต่ำในยุโรปมีแนวโน้มจะทำให้อีซีบีวิตกมากขึ้นและนำไปสู่การผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากในขณะนี้ภูมิภาคเอเชียอยู่ในสภาวะอุปทานที่มากกว่าอุปสงค์ส่งผลให้มีแรงซื้อน้ำมันเบนซินลดลง ประกอบกับการเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินในจีนและอินเดียกดดันให้อุปสงค์เบาบางลงไปอีก นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในญี่ปุ่นที่ปรับเพิ่มขึ้นยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันตลาดน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันดีเซลในภูมิภาคที่เบาบางลงและยังขาดโอกาสในการส่งออกน้ำมันดีเซลจากเอเชียไปยังภูมิภาคอื่น อย่างไรก็ดี ตลาดยังได้รับแรงหนุนนจากการที่ญี่ปุ่นมีการส่งออกน้ำมันดีเซลลดลงหลังโรงกลั่นน้ำมันลดกำลังการผลิตลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 65-71 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 69-76 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามท่าทีของตลาดที่ตอบรับต่อการคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกที่ระดับเดิมที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมวันที่ 27 พ.ย ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าการประชุมจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่สมาชิกบางส่วนอย่างที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบสูง ได้แก่ เวเนซุเอลา อิหร่าน รวมถึงผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกที่มีต้นทุนสูงเช่นกัน ได้แก่ รัสเซีย ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ระดับปัจจุบันยังแสดงความผิดหวังต่อมติการประชุม
ตลาดจับตาการหาวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของยูโรโซน ในการประชุมครั้งต่อไปของอีซีบีในวันที่ 4 ธ.ค. นี้ หลังประธานอีซีบีส่งสัญญาณถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลเงินเฟ้อให้ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มมาตรการ QE ในไตรมาสหน้าด้วย
โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ยังคงทยอยกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง รวมถึงอากาศที่หนาวเย็นของสหรัฐฯ ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจหนุนราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซน - พ.ย. 57
อัตราการว่างงานของยูโรโซน - ต.ค. 57
วันเสาร์ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจีน - ต.ค. 57
วันจันทร์ดัชนีการผลิตจีน - พ.ย. 57
ดัชนีการผลิตสหรัฐ (ISM) - พ.ย. 57
ดัชนีการผลิตสหรัฐ (Markit PMI) - พ.ย. 57
ดัชนีการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) -พ.ย. 57
วันพุธตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ - พ.ย.57
ยอดค้าปลีกยูโรโซน - ต.ค. 57
ข่าวเด่น