- นายนิซา เอล แอดซานี ประธานบริษัทคูเวตปิโตรเลียมคอปเปอร์เรชั่น คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะยังคงยืนอยู่ที่ระดับประมาณ 65 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 6-7เดือนข้างหน้า จนกว่าสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือจนกว่ากลุ่มโอเปกจะเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับการกำลังการผลิตน้ำมันดิบ หรือแม้กระทั่งการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่มากพอถึงจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ
- ทั้งนี้บริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับลดการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลง 28 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 มาอยู่ที่ 70 เหรียญสหรัฐฯ และปรับลดราคาลง 14 เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ 88 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2559 เนื่องจากสถานการณ์ของอุปทานน้ำมันโลกที่ ยังคงล้นตลาดและการเมินเฉยต่อการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงของกลุ่มประเทศโอเปก
+ ตัวเลขดุลการค้าจีนเดือน พ.ย. ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับเกินดุลประมาณ 54.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก 45.41 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 44.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2557 ที่ผ่านมา หลังจีนนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 6.7 จากปีก่อนหน้า
+/- ผลสำรวจนักวิเคราะห์จากรอยเตอร์คาดการณ์ว่าปริมาณสำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจะปรับลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลและเบนซินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.3 ล้านบาร์เรล และ 3.5 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังสภาพตลาดซบเซาจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่อ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัดของทั้งภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง และอุปทานที่มีอยู่อย่างล้นเหลือ โดยโรงกลั่นน้ำมันไต้หวัน ฟอร์โมซ่าจะกลับมาดำเนินการกลั่นในวันที่ 10 ธ.ค. หลังประสบปัญหาทางเทคนิคช่วงปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว้าสภาพตลาดจะยังคงอยู่ในระดับดี เนื่องจากอุปทานน้ำมันดีเซลที่มีแนวโน้มลดลง หลังระดับการส่งออกน้ำมันของประเทศจีนปรับลดระดับลง ประกอบกับกำลังการผลิตดีเซลของโรงกลั่นน้ำมันแถบเอเชียเหนือที่คาดการณ์ว่าจะปรับลด เพื่อเปลี่ยนไปผลิตเป็นน้ำมันก๊าดสำหรับใช้ในช่วงฤดูหนาว
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 61-66 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 64-67 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ผลกระทบจากการที่โอเปกตัดสินใจคงกำลังการผลิตเอาไว้ อาจทำให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน โดยเฉพาะรัสเซีย อิหร่าน เวเนซุเอลา และไนจีเรีย ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ ซ้ำเติมสภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบที่ต่ำนี้ อาจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วเติบโตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกประเทศในกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบ
ตลาดเฝ้าจับตาและยังคงมีความหวังว่ามาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบีจะมีประสิทธิภาพและจะสามารถแก้ไขปัญหาเงินฝืด รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ในยูโรโซนได้ ซึ่งจะช่วยทำให้อุปสงค์น้ำมันของภูมิภาคกลับมาดีขึ้น
รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ธ.ค. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) โอเปก รวมถึงจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 9 ธ.ค. 10 ธ.ค. และ 12 ธ.ค. ตามลำดับ ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกในปีนี้และปีหน้าลงอีกหรือไม่
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ตัวเลขดุลการค้าจีน - พ.ย. 57
วันอังคารดัชนีผู้ผลิตจีน - พ.ย. 57
ดัชนีผู้บริโภคจีน - พ.ย. 57
อัตราเงินเฟ้อจีน - พ.ย. 57
วันพฤหัสบดีจำนวนผู้ที่ขอรับสวัสดิการครั้งแรกสหรัฐฯ- ธ.ค.57
ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - พ.ย. 57
วันศุกร์ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - ต.ค. 57
ยอดค้าปลีกจีน - ต.ค. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน - ต.ค. 57
ดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ - พ.ย. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ธ.ค.57
ข่าวเด่น