- หลังจากนักลงทุนได้กลับเข้ามาทำสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าเพียงแค่ 1 วัน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสได้ปรับตัวลดลงอีกครั้งจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Shale Oil ในสหรัฐฯ และการตัดสินใจที่ไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสลงมาอยู่ในระดับต่ำว่า 60 และ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอีกครั้ง
+/- จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงต่ำกว่าระดับ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทำให้บริษัทน้ำมันหลายๆ แห่ง ประกาศลดเงินทุนในการจัดหาน้ำมันดิบทั่วโลก ล่าสุดเชฟรอน บริษัทน้ำมันของสหรัฐฯ ได้ประกาศหยุดโครงการขุดเจาะน้ำมันในทะเล Beaufort ที่อยู่ที่ประเทศแคนาดาออกไป ในขณะที่ Marathon Oil อีกหนึ่งบริษัทที่ทำธุรกิจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ได้ประกาศลดค่าใช้จ่ายลงร้อยละ 20 ในปี 2015 ที่จะถึงนี้ นอกจากบริษัทน้ำมันในสหรัฐฯ แล้ว บริษัทน้ำมันในประเทศแคนาดาหลายบริษัท เช่น Husky Energy, MEG Energy และ Penn West Petroleum ก็ได้ประกาศลดค่าใช้จ่ายในปี 2015 เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในปีหน้าได้
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด สาขาฟิลาเดลเฟียได้เปิดเผยว่า ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเขตฟิลาเดเฟีย ได้ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 24.5 ในเดือนธ.ค. จาก 40.8 ในเดือนพ.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ที่ 27.0 จากตัวเลขดัชนีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า กิจกรรมการผลิตในเขตฟิลาเดลเฟีย ยังคงขยายตัวแต่อยู่ในอัตราที่ชะลอตัว ในขณะที่ดัชนีราคาบ้านในประเทศจีนได้ลดลงต่อเนื่อง จาก -2.6% ในเดือนพฤศจิกายน มาอยู่ที่ -3.7% ในเดือนธันวาคมนี้
+ อย่างไรก็ตาม เมื่อมาพิจารณาจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ พบว่า ปรับตัวลง 6,000 คน มาอยู่ที่ 289,000 คน ซึ่งต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ เป็นสัญญาณที่สะท้อนว่าตลาดแรงงานยังคงการจ้างงานในสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่ดี ในส่วนดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ที่เปิดเผยโดย Conference Board ได้ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นสัญญาณของแนวโน้มของการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอัตราที่ดีในหลายเดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนี ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก 104.7 ในเดือนพ.ย. มาอยู่ที่ 105.5 ในเดือนธ.ค. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในยุโรป กำลังผ่านพ้นวิกฤติเมื่อช่วงต้นปีได้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ถึงแม้ว่าจะมีอุปสงค์ที่เบาบางในภูมิภาคเอเชียจากหลายประเทศมีนโยบายลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ลดลงจากการลดลงของการส่งออกน้ำมันดีเซลจากประเทศจีนและไต้หวัน และอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศเวียดนามและแทนซาเนีย
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 53-58 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งภายในกลุ่มประเทศโอเปก หลังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบสูง อย่างเวเนซูเอลาและแอลจีเลีย พยายามผลักดันการจัดประชุมอย่างเร่งด่วนขึ้นก่อนที่จะมีการประชุมโอเปกครั้งต่อไปในเดือน มิ.ย. 58 เพื่อร่วมกันหามาตรการที่จะพยุงราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกมาประกาศกร้าวว่าโอเปกจะไม่มีการประชุมพิเศษหากไม่มีความจำเป็น และจะไม่ปรับลดเพดานการผลิต แม้ว่าราคาน้ำมันอาจจะดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลก็ตาม โดยเน้นย้ำว่าราคาน้ำมันดิบควรเป็นไปตามกลไกตลาดเท่านั้น
ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของรัสเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลง เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบเป็นหลัก รวมถึงการอ่อนค่าลงของสกุลเงินรูเบิลที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ และมาตรการคว่ำบาตรที่นานาชาติบังคับใช้ต่อ
จับตาทิศทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังการเลือกตั้งในวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยล่าสุด นาย ซินโซ อาเบะ และ พรรคร่วมรัฐบาลผสม ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และยังรักษาที่นั่งเกินสองในสามเอาไว้ พร้อมทั้งติดตามว่ายุทธศาสตร์ “อาเบะโนมิกส์” หรือนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งกำลังกลับสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งได้หรือไม่
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดีอัตราดอกเบี้ยเฟด
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเขตฟิลาเดเฟีย - ธ.ค. 57
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ - พ.ย. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันโดย IFO - ธ.ค. 57
ดัชนีราคาบ้านจีน - พ.ย. 57
วันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน (ธ.ค.)
วันอังคารดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจีน (พ.ย.)
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (พ.ย.)
จีดีพี (ไครมาส 3)
ดัชนีความอ่อนไหวของผู้บริโภคสหรัฐฯ (ธ.ค.)
ข่าวเด่น