+ ราคาน้ำมันดิบทั้งเบรนท์และเวสเท็กซัสดีดตัวกลับขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันศุกร์สุดสัปดาห์ หลังนักลงทุนพากันกลับเข้ามาซื้อขายทำกำไรในตลาดน้ำมันอีกครั้ง หลังราคาน้ำมันปรับลดลงไปแตะระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2552 เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการดีดกลับครั้งนี้ถือเป็นการดีดกลับที่แรงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี
+ นักลงทุนและนักวิเคราะห์หลายแห่งมองว่าระดับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ราว 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ถือเป็นแนวรับที่สำคัญซึ่งสะท้อนมาจากการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงนี้ถือว่ายังคงมีความไม่แน่นอนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการลงทุน ขณะที่ภาพของปัจจัยพื้นฐานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
- ราคาน้ำมันที่ระดับต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดผลดีต่อการลงทุนการผลิตน้ำมันจากหินดินดาน (shale oil) ในบริเวณรัฐนอร์ท ดาโกต้า ของสหรัฐฯ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายสหรัฐฯ ระบุว่า หากราคาเฉลี่ยเดือนของน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงต่ำกว่าเกณฑ์เป็นเวลา 5 เดือนติดต่อกัน ผู้ผลิตจะมีสิทธิได้รับเงินลดหย่อนภาษีมูลค่า 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 6.5% ของภาษีขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งสำหรับปี 2558 ราคาเกณฑ์ถูกกำหนดไว้ที่ 55.08 เหรียญฯ ซึ่งหากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นปัจจุบันนี้ต่อเนื่อง ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจะได้รับการลดหย่อนภาษีได้ช่วงกลางปีหน้าได้
- ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดน้ำมัน (major oil company) เริ่มมองหาทางควบรวมกิจการของบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขนาดเล็กๆ ที่อาจได้รับผลกระทบทางการเงินท่ามกลางราคาน้ำมันที่ผันผวนในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา เอเชีย รวมถึงสหรัฐฯ เพื่อหาทางรักษาตลาดลูกค้าของตนไว้ ซึ่งการควบรวมกิจการจะส่งผลให้การดำเนินการทั้งด้านการผลิตและสำรวจปิโตรเลียมของบริษัทเล็กๆ ดังกล่าว ยังคงดำเนินการต่อไปได้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยในตลาดยังคงมีการนำเข้าของอินโดนีเซียให้เห็นอยู่บ้าง แม้จะไม่มากเท่าเดือนก่อนหน้าก็ตาม อย่างไรก็ดี อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงอยู่ระดับสูงรวมถึงปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิคโปร์ที่ล่าสุดมีการปรับเพิ่มขึ้นด้วย
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี แนวโน้มการส่งออกของจีนที่คาดว่าลดลงหรืออาจไม่มีการส่งออกน้ำมันดีเซลในเดือน ม.ค. เพราะเน้นขายในประเทศมากขึ้นหลังราคาน้ำมันในตลาดต่างประเทศตกต่ำ รวมถึงแรงซื้อที่มีให้เห็นจากอินโดนีเซียที่นำเข้าไปใช้ในธุรกิจเหมืองเพื่อทดแทนถ่านหินที่ในระยะนี้มีราคาสูง ส่งแรงหนุนต่อตลาดน้ำมันดีเซล
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 53-58 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ท่าทีของสมาชิกต่างๆ ในกลุ่มโอเปก หลังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบสูง อย่างเวเนซูเอลาและแอลจีเลีย พยายามผลักดันการจัดประชุมอย่างเร่งด่วนขึ้นเพื่อร่วมกันหามาตรการที่จะพยุงราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ ขณะที่ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ย้ำจะไม่มีการประชุมพิเศษหากไม่มีความจำเป็น และจะไม่ปรับลดเพดานการผลิต แม้ราคาน้ำมันอาจดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลก็ตาม
ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของรัสเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลง เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบเป็นหลัก รวมถึงการอ่อนค่าลงของสกุลเงินรูเบิลที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ และมาตรการคว่ำบาตรที่นานาชาติบังคับใช้ต่อ
ติดตามว่ายุทธศาสตร์ “อาเบะโนมิกส์” หรือนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของนาย ซินโซ อาเบะ จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งกำลังกลับสู่ภาวะถดถอยให้กลับมาดีขึ้นได้หรือไม่ หลังายอาเบะ รักษาเก้าอี้เดิมของตนไว้ได้จากการเลือกตั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดีอัตราดอกเบี้ยเฟด
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเขตฟิลาเดเฟีย - ธ.ค. 57
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ - พ.ย. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันโดย IFO - ธ.ค. 57
ดัชนีราคาบ้านจีน - พ.ย. 57
วันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน (ธ.ค.)
วันอังคารดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของจีน (พ.ย.)
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ (พ.ย.)
จีดีพี (Q3) ของสหรัฐฯ
ดัชนีความอ่อนไหวของผู้บริโภคของสหรัฐฯ (ธ.ค.)
วันพุธจำนวนผู้ที่ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
วันพฤหัสบดีดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น (YoY) - พ.ย. 57
ข่าวเด่น