- ราคาน้ำมันดิบทั้งเบรนท์และเวสเท็กซัสปรับลดลงจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีแรงซื้อจากนักลงทุนที่ พากันกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดน้ำมัน อย่างไรก็ตามตลาดมีความกังวลถึงราคาน้ำมันที่จะร่วงลงไปอีก หลังซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดประกาศว่า OPEC จะไม่ลดกำลังการผลิตลงไม่ว่าราคาจะตกลงไปที่ระดับใดก็ตาม
-นอกจากนี้ นายอาลี อัล-นูไอมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ว่า ซาอุดิอาระเบียอาจจะเพิ่มกำลังการผลิตแทนที่จะลดกำลังการผลิต เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้และราคาซื้อขายน้ำมันอาจจะไม่กลับไปสูงถึง 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
-รวมไปถึงนักวิเคราะห์น้ำมันมองว่า ซาอุดิอาระเบียจะเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งจะลดราคาน้ำมันให้ต่ำลง เพื่อจะสกัดผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นที่ไม่สามารถรับกับราคาที่ต่ำมากในตลาดได้ โดยราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าระดับ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อโครงการการขุดเจาะน้ำมันต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 ทำให้ต้องหยุดหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด นักวิเคราะห์ยังกล่าวต่อไปว่า จากภาพในอดีต ราคาน้ำมันจะกลับขึ้นมาภายใน 100 วันหลังจากที่ราคาน้ำมันได้ถึงจุดต่ำสุด
+ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน ในเดือน ธ.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -10.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ -11.6 โดยปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เล็กน้อยที่ระดับ -11.0 เป็นสัญญาณแง่บวกที่สะท้อนว่ายูโรโซนอาจหลุดพ้นจากภาวะถดถอยเร็วๆ นี้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการซื้อของอินโดนีเซีย อย่างไงก็ตาม อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงอยู่ระดับสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินพิ่มขึ้นไม่มากนัก
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในเอเชียที่ยังเหลือในตลาดจำนวณมาก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกน้ำมันของจีนที่คาดว่าลดลง และการปิดซ่อมบำรุงกระทันหันของโรงกลั่นน้ำมันในไต้หวัน ยังช่วยหนุนตลาดน้ำมันดีเซล
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 53-58 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ท่าทีของสมาชิกต่างๆ ในกลุ่มโอเปก หลังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบสูง อย่างเวเนซูเอลาและแอลจีเลีย พยายามผลักดันการจัดประชุมอย่างเร่งด่วนขึ้นเพื่อร่วมกันหามาตรการที่จะพยุงราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ ขณะที่ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ย้ำจะไม่มีการประชุมพิเศษหากไม่มีความจำเป็น และจะไม่ปรับลดเพดานการผลิต แม้ราคาน้ำมันอาจดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลก็ตาม
ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของรัสเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลง เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบเป็นหลัก รวมถึงการอ่อนค่าลงของสกุลเงินรูเบิลที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ และมาตรการคว่ำบาตรที่นานาชาติบังคับใช้ต่อ
ติดตามว่ายุทธศาสตร์ “อาเบะโนมิกส์” หรือนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของนาย ซินโซ อาเบะว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งกำลังกลับสู่ภาวะถดถอยให้กลับมาดีขึ้นได้หรือไม่ หลังนายอาเบะ รักษาเก้าอี้เดิมของตนไว้ได้จากการเลือกตั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดีอัตราดอกเบี้ยเฟด
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเขตฟิลาเดเฟีย - ธ.ค. 57
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ - พ.ย. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันโดย IFO - ธ.ค. 57
ดัชนีราคาบ้านจีน - พ.ย. 57
วันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน (ธ.ค.)
วันอังคารดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของจีน (พ.ย.)
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ (พ.ย.)
จีดีพี (Q3) ของสหรัฐฯ
ดัชนีความอ่อนไหวของผู้บริโภคของสหรัฐฯ (ธ.ค.)
วันพุธจำนวนผู้ที่ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
วันพฤหัสบดีดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น (YoY) - พ.ย. 57
ข่าวเด่น