- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงหลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ธ.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้น 7.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 387 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโดยปกติในไตรมาส 4 จะเป็นช่วงที่มีอุปสงค์สูงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว สำหรับปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่งโอกลาโฮมาปรับเพิ่มขึ้น 973,000 บาร์เรล นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังและน้ำมันดีเซลคงคลังของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 4.1 และ 2.3 ล้านบาร์เรลตามลำดับ สะท้อนถึงอุปสงค์การใช้น้ำมันที่ชะลอตัวลงในสหรัฐฯ
- นอกจากนี้สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) ยังมีการรายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 387 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับคาดการณ์ที่จะปรับลดลง สำหรับปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่งโอกลาโฮมาปรับเพิ่มขึ้น 915,000 บาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังและน้ำมันดีเซลคงคลังของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 5.5 และ 1.1 ล้านบาร์เรลตามลำดับ
- ตลาดหุ้นยุโรปค่อนข้างซบเซาโดยปิดลดลง หลังภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างเงียบเหงา เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะถึงวันหยุดในเทศกาลคริสต์มาส โดยตลาดหุ้นลอนดอนปิดทำการซื้อขายเร็วกว่าปกติเนื่องในวันคริสต์มาสอีฟ ขณะที่ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดทำการเนื่องในวันคริสต์มาสอีฟ
+ อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก และยังคงเคลื่อนไหวเหนือระดับ 18,000 จุด เนื่องจากนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ หลังจีดีพีไตรมาส 3/57 ขยายตัว 5% ซึ่งดีเกินคาด ประกอบกับตัวเลขจำนวนคนว่างงานในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ธ.ค. ปรับตัวลดลง 9,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 280,000 ราย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และหนุนไม่ให้ราคาน้ำมันดิบลดลงไปมากนัก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เป็นผลมาจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังทรงตัวอยู่ได้ในระดับดี เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแรงซื้อของประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันเบนซินรายใหญ่ในภูมิภาค
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ปรับตัวลดลง หลังอุปสงค์ในเอเชียเหนือปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้การส่งออกน้ำมันดีเซลจากประเทศจีนมีแนวโน้มลดลง หลังจีนเริ่มเก็บสต็อกน้ำมันดีเซลไว้ใช้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 53-58 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ท่าทีของสมาชิกต่างๆ ในกลุ่มโอเปก หลังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบสูง อย่างเวเนซูเอลาและแอลจีเลีย พยายามผลักดันการจัดประชุมอย่างเร่งด่วนขึ้นเพื่อร่วมกันหามาตรการที่จะพยุงราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ ขณะที่ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ย้ำจะไม่มีการประชุมพิเศษหากไม่มีความจำเป็น และจะไม่ปรับลดเพดานการผลิต แม้ราคาน้ำมันอาจดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 40 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรลก็ตาม
ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของรัสเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลง เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบเป็นหลัก รวมถึงการอ่อนค่าลงของสกุลเงินรูเบิลที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ และมาตรการคว่ำบาตรที่นานาชาติบังคับใช้ต่อ
ติดตามว่ายุทธศาสตร์ “อาเบะโนมิกส์” หรือนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของนาย ซินโซ อาเบะว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งกำลังกลับสู่ภาวะถดถอยให้กลับมาดีขึ้นได้หรือไม่ หลังนายอาเบะ รักษาเก้าอี้เดิมของตนไว้ได้จากการเลือกตั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดีอัตราดอกเบี้ยเฟด
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเขตฟิลาเดเฟีย - ธ.ค. 57
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ - พ.ย. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันโดย IFO - ธ.ค. 57
ดัชนีราคาบ้านจีน - พ.ย. 57
วันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน (ธ.ค.)
วันอังคารดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของจีน (พ.ย.)
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ (พ.ย.)
จีดีพี (Q3) ของสหรัฐฯ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของสหรัฐฯ (ธ.ค.)
วันพุธจำนวนผู้ที่ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
วันพฤหัสบดีดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น (YoY) - พ.ย. 57
ข่าวเด่น