- นอกจากนั้นแล้ว อุปทานน้ำมันในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูง โดยอิรักเปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันในเดือน ธ.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุด ตั้งแต่ปี 2516 หลังจากการเพิ่มปริมาณการผลิตทางตอนเหนือและตอนใต้ของอิรัก นอกจากนั้นแล้วอิรักยังเปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนของแรกของปี 58 จะทำการส่งออกจากทางตอนเหนือเท่ากับ 375,000 บาร์เรลต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น 600,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน เม.ย. 58 หลังจากอิรักและกลุ่มเคิร์ดสามารถตกลงกันได้ในช่วงที่ผ่านมา
- ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบีย ในเดือน พ.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 7.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้าที่ 6.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน พ.ย. 57 จะลดลงก็ตาม ซึ่งเป็นการตอกย้ำเนื่องจากซาอุฯ ยังคงต้องการรักษาส่วนแบ่งการตลาดจากผู้ผลิตรายอื่น
+/- นายกรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของอิหร่าน ออกมาเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการพูดคุยกับกลุ่มผู้ผลิตรายอื่นในกลุ่มโอเปก หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับลดลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีแผนการสำหรับการประชุมเร่งด่วนในเรื่องดังกล่าว โดยอิหร่านกล่าวว่าแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อิหร่านก็ยังคงสามารถเดินหน้าผลิตต่อไปได้
+ จากรายงานการสำรวจของ Baker Hugghes พบว่าปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 56 หลังจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างมากเริ่มส่งผลให้ไม่คุ้มค่าสำหรับการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตของ Shale Oil ในอนาคต
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ สาเหตุเนื่องจากในช่วงอากาศหนาวทำให้อุปสงค์ในภูมิภาคอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ประกอบกับอุปทานน้ำมันเบนซินในตลาดที่ยังคงค่อนข้างมาก หลังตะวันออกกลาง ยุโรป และอินเดีย มีการส่งออกมายังภูมิภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปสงค์คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังอินโดนีเซียปรับลดราคาขายปลีกลงอีกครั้ง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ สาเหตุเนื่องจากถูกกดดันจากอุปทานน้ำมันดีเซลในตลาดที่ยังคงอยู่ในระดับสูง หลังตะวันออกกลาง และ อินเดีย ยังคงส่งออกเข้ามายังภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้อุปสงค์ในภูมิภาคแม้ว่าจะอยู่ในช่วงอากาศหนาวก็ตาม ไม่สามารถรองรับอุปทานดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังอินโดนีเซียปรับลดราคาขายปลีกอีกครั้ง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาท่าทีของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ท่ามกลางภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดที่คอยกดดันราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับต่ำ หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อย่าง ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยืนยันไม่ปรับลดกำลังการผลิต แต่กลับประกาศปรับลดราคาขายน้ำมันดิบ (OSPs) สำหรับเดือน ก.พ. ที่จะขายไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดจากผู้ผลิต Shale Oil และผู้ผลิตในแอฟริกาไว้
ติดตามการประชุมอีซีบีในวันที่ 22 ม.ค. นี้ โดยนักลงทุนต่างคาดหวังว่าอีซีบีจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในรูปแบบ QE หลังนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้เตรียมที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งต้องตามดูว่าจะเข้าซื้อในวงเงินเท่าใด และจะออกใช้มาตรการนี้เมื่อใด
ติดตามวิกฤติเศรษฐกิจของรัสเซีย หลังเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - ธ.ค. 57
ความรู้สึกผู้บริโภคสหรัฐ - ม.ค. 58
วันอังคารจีดีพีจีนไตรมาส 4/57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - ธ.ค. 57
ยอดค้าปลีกจีน - ธ.ค. 57
วันพฤหัสดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - ม.ค. 58
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอีซีบี
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 16 ม.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค. 58
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐ - ม.ค. 58
ข่าวเด่น