- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงกว่า 5% โดยระหว่างวันราคาได้แตะระดับต่ำสุดที่ 45.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ก่อนราคาจะปิดที่ 46.39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยหลักที่กดดันราคาน้ำมันคือ การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 ประกอบกับนายบิจาน ซากาเนห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของอิหร่านได้แสดงความเห็นว่าราคาน้ำมันอาจแตะ 25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลได้ หากไม่มีการดำเนินการใดๆจากโอเปก
- IMF ปรับลดการขยายตัวแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2558 และ ปี 2559 ที่ 0.3% ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2558 ลดลงมาที่ 3.5% และปี 2559 มาอยู่ที่ 3.7% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศยังคงเปราะบาง แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับการอ่อนค่าเงินยูโร และเงินเยน
- Genscape รายงานปริมาณน้ำมันดิบสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่เมือง Cusing รัฐ Oklahoma ว่าปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.6 ล้านบาร์เรล
- เศรษฐกิจจีน ไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัว 7.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยทำให้การขยายตัวของปี 2557 อยู่ที่ 7.4% ต่ำกว่าเป้าที่ 7.5% ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี หลังภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งออก และการลงทุนยังคงซบเซา อย่างไรก็ดี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนและ ยอดค้าปลีกจีนเดือน ธ.ค. 57 ขยายตัวที่ 7.9% และ11.9% ตามลำดับ ซึ่งดีกว่าคาด
-/+ Baker Hugghes คาดว่าปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2558 อาจปรับลดลง15% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงานถึง 7,000 คน โดยในไตรมาส 4 มีการลดจำนวนพนักงานลงแล้วประมาณ 1,000 คน ทั้งนี้ตัวรายงานปริมาณแหล่งขุดเจาะน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่แล้วลดลง 55 แหล่ง จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งนับเป็บการลดลงที่มากสุดในรอบ 24 ปี
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินในตลาด ประกอบกับความอ่อนแอของอุปสงค์เอเชียเหนือประสบสภาพอากาศหนาวเย็น ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินจากอินโดนีเซียโดยรวมเดือน ก.พ. ยังอยู่ที่ระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับต่ำ หลังภาครัฐของประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียมีการลดเงินอุดหนุนราคาขายน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ตลาดคาดว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันอาจลดลง นอกจากนี้อุปทานอยู่ในระดับสูง หลังตะวันออกกลางและมาเลเซียส่งออกน้ำมันดีเซลมายังภูมิภาค อย่างไรก็ดี ในเดือน ก.พ. จะไม่มีอุปทานในตลาดจรจากไต้หวันเข้ามาเพิ่มเติม เนื่องจากโรงกลั่นไต้หวันทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าแบบ Term ไว้ก่อนแล้ว รวมทั้งต้องเก็บสต็อกสำหรับการปิดซ่อมบำรุงในเดือน มี.ค.
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาท่าทีของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ท่ามกลางภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดที่คอยกดดันราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับต่ำ หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อย่าง ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยืนยันไม่ปรับลดกำลังการผลิต แต่กลับประกาศปรับลดราคาขายน้ำมันดิบ (OSPs) สำหรับเดือน ก.พ. ที่จะขายไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดจากผู้ผลิต Shale Oil และผู้ผลิตในแอฟริกาไว้
ติดตามการประชุมอีซีบีในวันที่ 22 ม.ค. นี้ โดยนักลงทุนต่างคาดหวังว่าอีซีบีจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในรูปแบบ QE หลังนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้เตรียมที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งต้องตามดูว่าจะเข้าซื้อในวงเงินเท่าใด และจะออกใช้มาตรการนี้เมื่อใด
ติดตามวิกฤติเศรษฐกิจของรัสเซีย หลังเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - ธ.ค. 57
ความรู้สึกผู้บริโภคสหรัฐ - ม.ค. 58
วันอังคารจีดีพีจีนไตรมาส 4/57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - ธ.ค. 57
ยอดค้าปลีกจีน - ธ.ค. 57
วันพฤหัสดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - ม.ค. 58
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอีซีบี
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 16 ม.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค. 58
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐ - ม.ค. 58
ข่าวเด่น