วันนี้ (22 มกราคม 2558) เวลา 10.15 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้เปิดประชุม สนช. โดยมี สนช.ลงชื่อเข้าประชุม 154 ราย จากทั้งหมด 220 รายที่ประชุมได้เริ่มดำเนินกระบวนการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 นายพรเพชร กล่าวว่าในวันนี้เป็นกระบวนการรับฟังการปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการป.ป.ช.ผู้กล่าวหาและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกกล่าวหา จากนั้นได้เชิญทั้งผู้กล่าวหาคือนายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช.และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแถลงปิดคดี หลังจากที่นายวิชาแถลงปิดคดีเสร็จสิ้น เมื่อเวลา11.00น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ แถลงปิดคดีต่อในทันทีโดยน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่ามาวันนี้เพื่อแถลงปิดคดีทุกเรื่องที่ถูกกกล่าวหาเพื่อยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของตนและเพื่อขอความเป็นธรรมต่อสภาแห่งนี้ โดยเข้าใจดีถึงดุลยพินิจที่เอกสิทธิ์และเป็นอิสระของทุกท่าน หวังว่าทุกท่านจะได้ใช้ดุลยพินิจที่ถูกต้องเที่ยงธรรมไม่จำยอมต่อการชี้นำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวต่อว่า วันที่แถลงเปิดสภาได้ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและจัดทำเอกสาร ดังนั้นในขั้นตอนตอบข้อซักถามจะเป็นประโยชน์ต่อสภาฯหากผู้ที่เป็นอดีตรมต.ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบจะได้มาให้ข้อมูลซึ่งรมต.ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบรับรู้ข้อเท็จจริงมาชี้แจงต่อสภาฯได้อย่างสมบูรณ์ และข้อบังคับของสภาฯก็เปิดให้สามารถมอบหมายให้รมต.มาชี้แจงแทนได้ ดิฉันจริงใจชี้แจงโดยไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น อดีตนายกฯกล่าวว่าขอชี้แจงว่ารายงานและสำนวนของป.ป.ช.มีข้อสังเกตอันเป็นพิรุธที่ไม่สำนวนให้สมาชิกนำรายงานและสำนวนของป.ป.ช.นำมาเป็นข้อในการถอดถอนดิฉันในคดีนี้เพราะรธน.พุทธศักราช2550สิ้นสุดแล้วเหลือเพียงพ.ร.บ.ปปช. ขอเรียนต่อสภาฯว่าการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะนำไปสู่การตัดสิทธิ์การดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา5ปีเป็นการจำกัดสิทธิ์และเสรีภาพของดิฉัน การดำเนินคดีเพื่อถอดถอนดิฉันหากจะดำเนินการตอ่ไปไม่เป็นธรรมต่อดิฉันและไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมและเป็นการถอดถอนซ้ำซ้อน จากที่แถลงในวันเปิดคดีว่าดิฉันไม่เหลือตำแหน่งอะไรให้ถอดถอนอีกแล้ว เป็นการถอดถอนที่ซ้ำซ้อน ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการส่งเรือ่งนี้ให้แก่สภาฯในการถอดถอนดิฉันอีกเพราะจะถือเป็นการกระทำที่ผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียอีก และในเรื่องระยะเวลาที่ใช้พิจารณาในการถอดถอนดิฉันว่าใช้เวลา1ปี10เดือนนั้นไม่เป็นความจริงโดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ไล่เรียงตั้งแต่ที่ป.ป.ช.มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริงสำนวนคดีถอดถอน โดยกระบวนการไต่สวนของดิฉันได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 28ม.ค.2557นับตั้งแต่28ม.ค.ถึง19ก.พ.ที่คณะกรรมการป.ป.ช.มีหนังสือถึงดิฉันให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาใช้เวลาเพียง21วัน และในกระบวนการหลังจากนั้นใช้เวลาอีก80วัน ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้ในการไถ่ถอนจึงใช้เวลาเพียง3เดือนเศษไม่ได้ใช้เวลา1ปี10เดือนดังที่ป.ป.ช.กล่าวอ้าง ขอเรียนต่อสภาฯกรณีข้าวหาย2ล้านตันตามที่ผู้กล่าวหากล่าวอ้างนั้นไม่เป็นความจริงแต่ที่น่าเสียใจคือแม้ได้นำหลักฐานมาโต้แย้งแต่ป.ป.ช.กลับไม่รับฟัง และกรณีของการระบายข้าวแบบจีทูจีป.ป.ช.กลับนำคดีระบายข้าวแบบจีทูจีที่กล่าวหาผู้อื่นมากล่าวผสมปนเปกับการกล่าวหาในคดีของดิฉัน และเมื่อวานนี้(21ม.ค.)ก็เช่นกันนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ กรรมการป.ป.ช.ได้กล่าวชัดเจนว่าประเด็นที่ชี้มูลนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ก็ไม่เกี่ยวกับคดีการถอดถอนในคดีนี้แต่อย่างใด ในตอนหนึ่งของการชี้แจงน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงกรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)มีหนังสือถึงตน3ฉบับนั้นไม่มีฉบับใดที่แจ้งให้รัฐบาลของตนต้องยุติโครงการรับจำนำข้าว รวมทั้งกรณีการตัดพยานของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งตนเสนอพยานบุคคลไปทั้งสิ้น18รายแต่ป.ป.ช.รับฟังเพียง6รายซึ่งพยานที่กี่ยวข้องที่เสนอไปนั้นล้วนแต่มีผลในการสืบหักล้างข้อกล่าวหาในประเด็นต่างๆ อาทิ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ นายสมชัยสัจจพงษ์เป็นการปิดกั้นโอกาสในการนำพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนการไต่สวนเมือ่เป็นเช่นนั้นสมาชิกสนช.จะเชื่อถือและยึดสำนวนความเห็นของป.ป.ช.ได้อย่างไร นอกจากนี้ป.ป.ช.ใช้พยานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลตน อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน นายวรงค์ เดชกิจวิกรม นายนิพนธ์ พัวพงศกร พร้อมกันนี้ อดีตนายกฯยังได้ชี้แจงว่าโครงการรับจำนำข้าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่ถูกกล่าวอ้าง แต่ในทางกลับกันกลับเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ สรุปได้ว่าวินัยการคลังในช่วงที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นมีความเข้มแข็งและมั่นคง ส่วนเหตุผลที่ยังเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าว ขอเรียนว่าโครงการรับจำนำข้าวมีคุณประโยชน์คุ้มค่าต่อประทศชาติมากกว่าเงินที่นำมาใช้ในโครงการ จึงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะยตุิโครงการและขอเรียนยืนยันว่ารัฐบาลดิฉันมีความจริงใจในการปราบทุจริต โดยตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อควบคุมติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน12คณะ,กำหนด13มาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปราบปรามการทุจริต ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสต็อกข้าวทั่วประเทศ ตั้งคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตข้าวในการรับจำนำข้าวที่สามารถฟ้องร้องคดีได้กว่า200คดี
ข่าวเด่น