- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 1.13 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 48.47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสปรับตัวลดลงถึง 1.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาแตะระดับ 44.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะอุปทานล้นตลาด
- ตลาดน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่ล้นตลาด หลังสำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 23 ม.ค.57 ปรับเพิ่มขึ้น ราว 9 ล้านบาร์เรล มาแตะที่ระดับ 406.7 ล้านบาร์เรล นับเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2525 ซึ่งต่างจากผลสำรวจของรอยเตอร์ในวันอังคารที่ผ่านมาว่าระดับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจะเพิ่มขึ้นเพียง 4 ล้านบาร์เรล
- ผู้ค้าน้ำมันส่วนใหญ่ยังคงคาดการณ์ว่าระดับราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงไปมากกว่านี้ หากสถานการณ์อุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าสำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) จะรายงานว่าปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงคลังจะลดลงไป 3 ล้านบาร์เรลและ 4 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ
+ บริษัทโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสจะปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำสุดจากการคาดการณ์ของสถาบันการเงินทั่วโลก ทั้งนี้บริษัทโกลด์แมน แซคส์ ยังให้ความเห็นว่าในช่วงครึ่งปีหลังราคาน้ำมันดิบเวสเท็กซัสจะสามารถฟื้นตัวกลับมาแตะที่ระดับ 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะกลับมายืนที่ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดน้ำมันยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกน้ำมันดีเซลของเอเชียเหนือ โดยรส่วนต่างาคาน้ำมันดีเซลที่มีระดับกำมะถันสูงและต่ำเริ่มมีราคาใกล้เคียงกันหลังโรงกลั่นในตะวันออกกลาง (Saudi Aromco-Sinopec) ส่งออกน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำมายังภูมิภาคเอเชีย ขณะที่อุปสงค์ยังคงอ่อนแรง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันคงคลังของจีนปรับลดลง 5% มาอยู่ที่ระดับ 8.65 ล้านตัน อย่างไรก็ดีตลาดในประเทศจีนยังคงผชิญกับสภาวะอุปทานล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการส่งออกมายังตลาดภายในภูมิภาคมากขึ้นถึง 7.6% ในปี 2557 เทียบกับปีก่อนหน้าหรือราว 5.05 ล้านตัน ส่งผลให้ตลาดต้องเผชิญกับสภาวะอุปทานล้นตลาดเช่นกัน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมเฟด ในวันที่ 27-28 ม.ค. นี้ ว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% หรือไม่ ทั้งนี้เฟดเคยส่งสัญญาณว่าจะยังไม่เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยมองว่าการพิจารณาการขึ้นดอกเบี้ยขึ้นกับข้อมูลทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ และอัตราว่างงาน หากเฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดเงินมากขึ้น เพราะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น
จับตาทิศทางเศรษฐกิจของยูโรโซนว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นหรือไม่ หลัง ECB ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาและรับมือกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน โดยล่าสุด ECB ได้วางแผนซื้อพันธบัตรจำนวน 6 หมื่นล้านยูโร (6.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ) ต่อเดือน เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่เดือน มี.ค. 2558 จนถึงเดือน ก.ย. 2559
ติดตามวิกฤติเศรษฐกิจของรัสเซีย หลังเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอีซีบี
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 16 ม.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค. 58
วันศุกร์ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐ - ม.ค. 58
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค. 58
วันจันทร์ดัชนีภาคการบริการ (Markit Services PMI) - ม.ค. 58
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - ม.ค. 58
วันอังคารยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ธ.ค. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ม.ค. 58
วันพฤหัสอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ (Fed Funds Rate)
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - ม.ค. 58
อัตราการว่างงานยูโรโซน - ธ.ค. 57
จีดีพีสหรัฐฯ (YoY) - Q4/58
ข่าวเด่น