+ ประกอบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวอ่อนค่าลง หลังยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. 58 ปรับตัวลดลง 0.8% จากเดือนก่อนหน้า มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แม้ว่ารายได้และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นก็ตาม ประกอบกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.พ. 58 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 25,000 ราย มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ มาอยู่ที่ระดับ 304,000 ราย
+ แหล่งข่าวจากบริษัทฯ น้ำมันแห่งชาติของคูเวต (KNPC) เปิดเผยว่าจากผลของพายุทรายส่งผลให้คูเวตต้องหยุดดำเนินการส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปทั้งหมดเป็นการชั่วคราวจนกว่าสภาพอากาศดังกล่าวจะปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลของพายุทรายดังกล่าวไม่ได้มีปัญหากระทบการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งการส่งออกผ่านท่าเรือหลัก Ras Tanura ยังคงดำเนินการได้ตามปกติ
- แหล่งข่าวจาก Reuters เปิดเผยว่า ท่าเรือ Hariga ของลิเบียสามารถกลับมาดำเนินการส่งออกได้ตามปกติแล้ว หลังในช่วงต้นสัปดาห์สามารถบรรรลุข้อตกลงในการประท้วงลงได้และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยได้คลี่คลายลง โดยผลดังกล่าว จะส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบลิเบียเพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. มากกว่า 340,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ดี ท่าเรือหลักอย่าง Es sider และ Ras Lanuf ยังคงปิดดำเนินการ
- Genscape เปิดเผยว่าในช่วง 6 ถึง 10 ก.พ. 58 ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 3.2 ล้านบาร์เรล และคาดว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.พ. 58 จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์จากเวียดนามก่อนเทศกาลปีใหม่ของประเทศในสัปดาห์หน้า และอุปสงค์ทางยุโรปที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ อุปทานที่ล้นตลาดในภูมิภาคมีทิศทางที่คลี่คลายลง หลังตะวันออกกลางและอินเดียสามารถส่งออกน้ำมันดีเซลไปยังฝั่งยุโรปได้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย เนื่องจากตลาดยังคงมีแรงหนุนจากตลาดเบนซินของสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเจรจาระหว่างกลุ่มสหภาพแรงงานและโรงกลั่นน้ำมันบางแห่ง ส่งผลเกิดความกังวลในอุปทานน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียยังคงอ่อนแอหลังอินโดนีเซียลดปริมาณการนำเข้า ประกอบกับอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 54-59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยูโรโซน เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกรีซในวันจันทร์ที่ 16 ก.พ. 58 หลังจากการประชุมวันที่ 12 ก.พ. 58 ที่ผ่านมาไม่สามารถหาข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของกรีซได้ ก่อนหน้านี้รัฐบาลชุดใหม่ของกรีซได้เข้าต่อรองผ่อนปรนเงื่อนไขเงินกู้กับสหภาพยุโรปโดยขอขยายระยะเวลาโครงการให้ความช่วยเหลือออกไป ซึ่งกำหนดการเดิมจะสิ้นสุดในปลายเดือน ก.พ.นี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดใหม่ของกรีซมีนโยบายอย่างชัดเจนว่าจะไม่ดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดเหมือนรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายของสหภาพยุโรป ทำให้ธนาคารกลางยุโรปได้ออกมาย้ำจุดยืนนี้ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าจะไม่ยอมรับพันธบัตรของรัฐบาลกรีซในการใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับการขอกู้เงินโดยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลกรีซหันมาดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดตามแนวทางปฏิรูปเดิม
จับตาสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากกลุ่มติดอาวุธบุกโจมตีบ่อน้ำมัน อัล-มับรูก (Al-Mabrook) ในลิเบีย และได้สังหารคนงานไปทั้งสิ้น 13 ราย เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 58 ที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวนี้อาจจะส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของลิเบียลดลงอีกได้ โดยก่อนหน้านี้ กำลังการผลิตน้ำมันของลิเบียลดลงเหลือเพียง 350,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ธ.ค. 57 หลังจากเครือข่ายกลุ่มกฎบติดอาวุธได้บุกโจมตีคลังส่งออกน้ำมัน เอส ไซเดอร์ (Es Sider) นอกจากนี้ ตลาดยังต้องติดตามท่าทีของกลุ่มก่อการร้ายไอเอส (IS) เนื่องจากมีแนวโน้มว่ากลุ่มไอเอส (IS) อาจจะขยายอิทธิพลเข้าไปยังดินแดนของลิเบีย หลังจากที่ได้เข้าไปยึดครองอาณาเขตในอิรักและซีเรีย
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสยอดค้าปลีกสหรัฐฯ (MoM) - ม.ค. 58
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ - 6 ก.พ.
วันศุกร์จีดีพียูโรโซน (YoY) - Q4/58
วันอังคารความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยูโรโซน - ก.พ.
วันพุธตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านสหรัฐฯ - ม.ค.
ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - ม.ค.
วันศุกร์ดัชนีภาคการผลิต (Markit PMI) ยูโรโซน ก.พ.
ดัชนีภาคการผลิต (Markit PMI) สหรัฐฯ - ก.พ.
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ - ม.ค.
ดัชนีภาคการผลิต (HSBC PMI) จีน
ข่าวเด่น