- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยแรงกดดันหลักยังคงมาจากปัจจัยพื้นฐานอุปทานน้ำมันดิบที่ล้นตลาด นอกจากนี้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาตัวแทนของกลุ่มโอเปกได้ออกมากล่าวยืนยันว่า โอเปกยังไม่มีแผนการที่จะจัดการประชุมฉุกเฉินก่อนที่จะมีการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. เพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ แม้ว่าก่อนหน้านี้ Diezani Alison-Madueke รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของไนจีเรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มโอเปกได้ออกมาเรียกร้องให้จัดการประชุมฉุกเฉินขึ้นเพื่อพิจารณานโยบายพยุงราคาน้ำมันก็ตาม
- สถาบันปิ โตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณนํ้ามันดิบคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 8.9 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 437 ล้าน บาร์เรล ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นที่ 4.0 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการประท้วงของพนักงานโรงกลั่นในสหรัฐฯ ทำให้กําลังการผลิตของโรงกลั่นสหรัฐฯ ลดลงกว่า 239,000บาร์เรลต่อวัน ขณะที่การนําเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง ราว 88,000 บาร์เรลต่อวัน มาสู่ระดับ 7.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนปริมาณนํ้ามันเบนซินคงคลังคงคลังปรับลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะน้ำมันดีเซลคงคลังก็ปรับลดลงเช่นกันที่ 2.4 ล้านบาร์เรล แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
+ รัฐมนตรีคลังยูโรโซนอนุมัติให้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีก 4 เดือน หลังจากที่ได้อนุมัติแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซ ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยกรีซจะดำเนินการตามแผนปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ในเดือน ก.ค. ซึ่งมาตรการต่างๆประกอบด้วย การปราบปรามการเลี่ยงภาษี การจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาการลักลอบขนส่งเชื้อเพลิงและยาสูบ การปฏิรูปด้านแรงงาน ซึ่งทางยูโรโซนเผยว่าแผนการดังกล่าวค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ตลาดเริ่มผ่อนคลายความกังวลจากการที่กรีซอาจจะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ซึ่งก็จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน
+/- ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ(Markit PMI) ประจำเดือน ก.พ. อยู่ที่ 57.0 ซึ่งถือเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 57 และเพิ่มขึ้นจากระดับ 54.2 ในเดือน ม.ค. ขณะที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 54.0 ซึ่งตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50.0 บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคบริการของสหรัฐฯ ขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ประจำเดือน ก.พ. ลดลงมากสู่ระดับ 96.4 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ ก.ย. 57 โดยลดลงไปมากกว่าคาดที่ระดับ 99.6 หลังจากที่ได้ปรับตัวขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ในเดือน ม.ค. ที่ระดับ 103.8
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยแรงกดดันหลักมากจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่อ่อนตัว เนื่องจากผู้บริโภคหลักอย่างอินโดนีเซียมีการนำเข้าน้ำมันเบนซินลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศลดเงินอุดหนุนน้ำมันเบนซินลง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ตลาดคาดว่าจะมีอุปทานส่วนเกินจากโรงกลั่นใหม่ในตะวันออกกลางและอินเดียเข้ามายังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยคาดว่าจะเข้ามาในตลาดเต็มที่ในเดือน มี.ค. นี้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ยังคงปะทุต่อเนื่อง โดยล่าสุดประเทศอียิปต์เปิดฉากโจมตีทางอากาศใส่ฐานที่มั่นของกลุ่มไอเอส (IS) ในประเทศลิเบีย ซึ่งเป็นการตอบโต้หลังกลุ่มไอไอเอสสังหารชาวอียิปต์ 21 คน ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติก และเป็นแรงงานยากจนที่ข้ามแดนโดยฝ่าฝืนคำเตือนของรัฐบาล เข้าไปหางานทำในลิเบีย
ตลาดน้ำมันดิบอาจได้รับแรงกดดันในช่วงไตรมาส 2 ที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โดยเฉพาะยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลง และกดดันราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ อุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกทั่วโลกยังคงล้นตลาดอยู่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันอังคารดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.พ.
ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ (Markit PMI) - ก.พ.
วันพุธดัชนีภาคการผลิต (HSBC PMI) จีน
วันพฤหัสดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ม.ค.
ความเชื่อมันผู้บริโภคยูโรโซน - ก.พ.
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ม.ค.
วันศุกร์จีดีพีสหรัฐฯ - Q4/14
ดัชนีภาคการผลิต (Markit PMI) สหรัฐฯ - ก.พ.
รายจ่ายในการบริโภคของบุคคลสหรัฐฯ - Q4/14
ดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ (Reuters/Michigan) - ก.พ.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Chicago PMI) - ก.พ.
ข่าวเด่น