- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลงมากกว่า 5% หลังจากที่นายโมฮัมเหม็ด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่านได้ออกมาประกาศว่าข้อตกลงเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้น จะสามารถตกลงกันได้ภายในสัปดาห์นี้ ถ้าทางสหรัฐฯ และประเทศทางด้านตะวันตกต่างๆ สามารถตกลงที่จะไม่คว่ำบาตรอิหร่านต่อไป โดยจุดประสงค์ของการตกลงครั้งนี้คือความมั่นใจว่าการผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้นจะนำไปใช้งานอย่างสันติ หากอิหร่านถูกยกเลิกการคว่ำบาตร จะทำให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้มากขึ้นถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่อาจต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมอุปกรณ์ในการผลิตและจัดส่งน้ำมันดิบอีกระยะหนึ่ง
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียที่ปรับเพิ่มขึ้นยังคงกดดันราคาน้ำมันดิบเบรนท์ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 บาร์เรลต่อวัน จากระดับเดิมที่ 363,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนมกราคมที่ผ่านมา รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี
-/+ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงไม่มากนัก เนื่องจากมีแรงสนับสนุนจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบน้ำมันดิบคุชชิ่ง ว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่มากกว่า 2 ล้านบาร์เรล
+/- ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซนเดือน ก.พ. คงที่จากเดือน ม.ค. ที่ระดับ 51.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขที่ประกาศออกมานั้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 51.1 โดยอัตราการขยายตัวของภาคการผลิตนั้นเท่าเดิมจากเดือนก่อนหน้า แต่มีการเติบโตทางด้านคำสั่งสินค้าใหม่เพิ่มสูงสุดในรอบ 7 เดือน
- ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือน ก.พ. ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.9 ซึ่งปรับลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 53.0 โดยการเติบโตของภาคผลิตสหรัฐฯ นั้นเติบโตค่อนข้างช้า และเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. ปีที่ผ่านมา โดยมีคำสั่งซื้อ การจ้างงาน และการผลิตต่างๆ มีการขยายตัวที่ชะลอลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อปริมาณอุปทานของน้ำมันเบนซินในภูมิภาคและในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลเนี่องมาจากที่โรงกลั่นต่างๆ ปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลและโรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่ปิดซ่อมบำรุงฉุกเฉิน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์น้ำมันดีเซลจากทางด้านยุโรปเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอุปทานที่ลดน้อยลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นต่างๆ
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันที่ 5 มี.ค. ต่อความคืบหน้าของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดย ECB จะเริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ในเดือน มี.ค. นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาและรับมือกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน โดย ECB จะดำเนินมาตรการ QE เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวจะมีมูลค่าอย่างน้อย 1.1 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่เดือน มี.ค. 2558 จนถึงเดือน ก.ย. 2559
โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ในเขต East Coast ยังคงได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบอ่อนตัวลง นอกจากนี้การชะลอการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปทำให้ตลาดเกิดความกังวลต่อปริมาณอุปทานของกลุ่มน้ำมันสำหรับทำความร้อนที่อาจตึงตัวในระยะสั้น
ติดตามทิศทางเศรษฐกิจของกรีซและยูโรโซน หลังจากที่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนอนุมัติให้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีก 4 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการอนุมัติแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ก.พ.58 โดยกรีซจะดำเนินการตามแผนปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ในเดือน ก.ค. ซึ่งมาตรการต่างๆ ประกอบด้วย การปราบปรามการเลี่ยงภาษี การจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาการลักลอบขนส่งเชื้อเพลิงและยาสูบ การปฏิรูปด้านแรงงาน ซึ่งทางยูโรโซนเผยว่าแผนการดังกล่าวค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ตลาดเริ่มผ่อนคลายความกังวลจากการที่กรีซอาจจะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ม.ค.
ความเชื่อมันผู้บริโภคยูโรโซน - ก.พ.
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ม.ค.
วันศุกร์จีดีพีสหรัฐฯ - Q4/14
ดัชนีภาคการผลิต (Markit PMI) สหรัฐฯ - ก.พ.
รายจ่ายในการบริโภคของบุคคลสหรัฐฯ - Q4/14
ดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ (Reuters/Michigan) - ก.พ.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Chicago PMI) - ก.พ.
วันอาทิตย์ดัชนีภาคการผลิตจีน (PMI) - ก.พ.
ดัชนีภาคการบริการจีน (PMI) - ก.พ.
วันจันทร์ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - ก.พ.
ดัชนีราคาผู้ผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - ก.พ.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - ก.พ.
วันอังคารดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - ก.พ.
วันพุธยอดค้าปลีกยูโรโซน - ม.ค.
วันศุกร์จีดีพียูโรโซน - Q4/14
รายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ - ก.พ.
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.พ.
ข่าวเด่น