+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังนาย Reza Najafi ผู้แทนด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ยังคงยืนกรานต่อประเทศมหาอำนาจทั้งหกว่าจะไม่ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับการควบคุมโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน หลังสหรัฐฯ ยื่นข้อเสนอให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการควบคุมโครงการมีอายุถึง 10 ปี ส่งผลให้ต้องขยายระยะเวลาในการเจรจาออกไปอีกถึงวันที่ 1 ก.ค. 2558
+ ซาอุดิอาระเบียประกาศขึ้นค่า OSPs สำหรับการขายน้ำมันดิบมายังภูมิภาคเอเชียราว 1.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และสหรัฐฯ ราว 1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังเล็งเห็นถึงอุปสงค์ของเอเชียและสหรัฐฯ ที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ได้รายงายถึงตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 10.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์จากรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ถึงสองเท่า ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังอยู่ที่ระดับ 444.37 ล้านบาร์เรล และปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา เพิ่มขึ้นราว 536,000 บาร์เรล อย่างไรก็ดีการปรับลดกำลังการผลิตของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังของสหรัฐฯ ปรับลดลง 3.1 ล้านบาร์เรล และ 2.7 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ
+/- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) รายงานถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระหว่างช่วงเดือน ม.ค. ถึง กลางเดือน ก.พ. โดยสังเกตได้จากยอดขายรถและยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างสำหรับสัญญาจ้างงานที่ต้องการผู้มีทักษะแบบเฉพาะทางในระยะเวลาที่ผ่านมา อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่เคยอยู่ในระดับต่ำปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงหนุนของประเทศอินโดนีเซียและการ์ตาที่ต้องการนำเข้าน้ำมันเบนซินราว 200,000 บาร์เรล และ 550,000 บาร์เรลภายในเดือน มี.ค. และ เม. ษ. ตามลำดับ ประกอบกับอุปทานที่ลดลงในช่วงฤดูการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์และอุปทานเริ่มปรับตัวเข้าสู่สมดุล โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากเวียดนามหลังมีความต้องการนำเข้าน้ำมันดีเซล 540,000 บาร์เรล และอุปทานที่ปรับลดลงในช่วงฤดูการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันที่ 5 มี.ค. ต่อความคืบหน้าของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดย ECB จะเริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ในเดือน มี.ค. นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาและรับมือกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน โดย ECB จะดำเนินมาตรการ QE เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวจะมีมูลค่าอย่างน้อย 1.1 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่เดือน มี.ค. 2558 จนถึงเดือน ก.ย. 2559
โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ในเขต East Coast ยังคงได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบอ่อนตัวลง นอกจากนี้การชะลอการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปทำให้ตลาดเกิดความกังวลต่อปริมาณอุปทานของกลุ่มน้ำมันสำหรับทำความร้อนที่อาจตึงตัวในระยะสั้น
ติดตามทิศทางเศรษฐกิจของกรีซและยูโรโซน หลังจากที่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนอนุมัติให้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีก 4 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการอนุมัติแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ก.พ.58 โดยกรีซจะดำเนินการตามแผนปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ในเดือน ก.ค. ซึ่งมาตรการต่างๆ ประกอบด้วย การปราบปรามการเลี่ยงภาษี การจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาการลักลอบขนส่งเชื้อเพลิงและยาสูบ การปฏิรูปด้านแรงงาน ซึ่งทางยูโรโซนเผยว่าแผนการดังกล่าวค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ตลาดเริ่มผ่อนคลายความกังวลจากการที่กรีซอาจจะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - ก.พ.
ดัชนีราคาผู้ผลิตยูโรโซน - ม.ค.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - ก.พ.
วันอังคารดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - ม.ค.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - ก.พ.
วันพุธยอดค้าปลีกยูโรโซน - ม.ค.
วันศุกร์จีดีพียูโรโซน - Q4/14
รายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ - ก.พ.
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.พ.
ข่าวเด่น