|
|
|
|
|
|
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลดลง หลังคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ต่อไป
-/+ ทั้งนี้ แถลงการณ์เฟดได้ยกเลิกการใช้คำว่า 'อดทน' ในการพิจารณากำหนดเวลาสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้ อย่างไรก็ดี เฟดระบุว่า จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อเฟดมีความเชื่อมั่นว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำในขณะนี้กำลังจะปรับตัวกลับสู่ระดับ 2% และตลาดแรงงานจะฟื้นตัว
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นในรอบ 80 ปี จากการรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงายตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ วันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา ปรับเพิ่มขึ้นราว 9.6 ล้านบาร์เรล แตะระดับที่ 458.51 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าที่นักวเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 3.8 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 2.865 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 54.4 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังลดลง 4.5 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ น้ำมันดีเซลในคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 380,000 บาร์เรล
- ในขณะที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของจีนเดือน ก.พ. ปรับลดลง 5.7% ต่อเนื่องจากเดือน ม.ค. ที่ปรับลดลง 5.1% บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวของจีน โดยลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน ก.ค. ปีที่แล้ว
+ ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 200 จุด ปิดที่ 18,076.19 จุด เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงดีอยู่ ประกอบกับอุปทานที่ตึงตัวจากโรงกลั่นน้ำมันภายในภูมิภาคที่เข้าสู่ฤดูปิดซ่อมบำรุง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนของอุปสงค์จากเวียดนามและศรีลังกา รวมไปถึงอุปทานน้ำมันดีเซลภายในภูมิภาคที่ตึงตัวหลังโรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 52-57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศลิเบียยังคงปะทุต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ลิเบียต้องหยุดดำเนินการผลิตน้ำมันกว่า 11 แห่งในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยล่าสุดลิเบียได้ปิดบ่อนํ้ามันอีก 2 บ่อ คือ Zella และ Fida ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หลังถูกโจมตีโดยกองกำลังของกลุ่มกบฏ โดยคาดว่ากำลังการผลิตจะอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับ 500,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ดี สงครามกลางเมืองของลิเบียยังคงไม่สามารถหาทางออกได้ โดยล่าสุดรัฐสภาลิเบียได้ร้องขอให้สหประชาชาติ (UN) เลื่อนการเจรจาสันติภาพออกไปอีก 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีเวลามากขึ้นในการหารือเกี่ยวกับแผนแม่บทของรัฐบาลชุดต่อไป
-อุปสงค์นํ้ามันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังโรงกลั่นทั่วโลกได้เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงประจำปี ในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้
|
บันทึกโดย : วันที่ :
19 มี.ค. 2558 เวลา : 11:39:44
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น