- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร ประกอบกับตลาดยังคงกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่ยังคงล้นตลาดอยู่ในปัจจุบันและกำลังการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และนโยบายการไม่ปรับลดการผลิตน้ำมันดิบ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง
- สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณนํ้ามันดิบคงคลังปรับขึ้น 4.8 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นที่ 5.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 80 ปี ส่วนปริมาณนํ้ามันเบนซินคงคลังคงคลังปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่นํ้ามันดีเซลคงคลังก็ปรับเพิ่มขึ้นที่ 641,000 บาร์เรล ซึ่งน้อยกว่ากับที่ตลาดคาดการณ์ไ ว้เช่นกัน
- นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก หลังดัชนีการผลิตของจีนในเดือนมี.ค. ตกลงต่ำสุดในรอบ 11 เดือน มาอยู่ที่ 49.2 จุด ซึ่งต่ำกว่าปกติที่ 50 จุด ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 50.6 จุด โดยมียอดการสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างมาก บ่งบอกถึงภาคเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวในจีน ทำให้หลายฝ่ายยังคงกังวลต่อความต้องการน้ำมันที่จะลดลง
+ อย่างไรก็ดี ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้นนับตังแต่เดือน ต.ค. ปีที่แล้ว ที่ 55.3 จุด มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 54.7 ในขณะที่ยอดการสั่งซื้อก็ปรับเพิ่มขึ้น และตัวเลขการจ้างงานก็ไปทิศทางที่ดีขึ้น แสดงถึงสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงดีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปทานที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงของการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในภูมิภาค ประกอบกับอุปสงค์ในภูมิภาคที่พิ่มขึ้นจากศรีลังกาและคูเวต
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ปรับเพิ่มจากจีนในเดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงอุปสงค์ในภูมิภาคที่มีแนวโน้มลดลงจากอินโดนิเซียที่จะลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลลงในปีนี้เนื่องจากนโยบายผลักดันน้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 52-57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจทั้งหก ที่กำลังเดินทางมาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ก่อนจะถึงกำหนดเส้นตายวันที่ 31 มี.ค. นี้ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องบรรลุกรอบความตกลง และได้ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 1 ก.ค. 58 โดยการเจรจามีจุดมุ่งหมายเพื่อจำกัดศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันดิบของอิหร่าน ทั้งนี้สหรัฐฯ และกลุ่มชาติมหาอำนาจ ได้ยื่นข้อเสนอให้อิหร่านยอมรับเงื่อนไขการควบคุมโครงการนิวเคลียร์เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร
การประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/57 ของสหรัฐฯ ที่จะเป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่แสดงถึงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าตัวเลขที่ออกมาน่าจะมีทิศทางที่ค่อนข้างดี หลังตัวเลขภาคแรงงานในเดือนที่ผ่านมาออกมาดีเกินคาด
อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในเดือน มี.ค. นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ ความเชื่อมันผู้บริโภคยูโรโซน - มี.ค.
วันอังคาร ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC PMI) - มี.ค.
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit flash PMI) - มี.ค.
ดัชนีภาคบริการยูโรโซน (Markit Services flash PMI) - มี.ค.
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (YoY) - ก.พ.
ความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ - มี.ค.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - มี.ค.
วันศุกร์ จีดีพีไตรมาส 4/57 สหรัฐฯ
ข่าวเด่น