ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์น้ำมันเบรนท์ปรับขึ้นอีกครั้งจากความไม่สงบในเยเมน ขณะที่เวสต์เท็กซัสปรับลดลงจากปริมาณน้ำมันคงคลังสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น


+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลัง เครื่องบินรบของพันธมิตรอาหรับที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย กลับเปิดการโจมตีครั้งใหม่ในเยเมนไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก ริยาด ประกาศยุติการปฏิบัติการทางอากาศ เนื่องจากการสู้รบภาคพื้นดินที่รุนแรงขึ้น จากกองกำลังกบฏได้เข้ายึดเมืองสำคัญหลายแห่ง รวมทั้งในเมืองเอเดน เมืองท่าสำคัญที่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของเยเมน และที่เมืองตาเอซ เมืองใหญ่อันดับ 3 ทำให้ตลาดกลับมากังวลต่อสถานการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในตะวันออกกลางอาจได้รับผล กระทบ หากสงครามยังคงต่อเนื่องและรุนแรงต่อไป

 

-/+ ในส่วนของอิหร่านนั้น ได้ออกมาเรียกร้องเมื่อวันพุธ ให้ทุกฝ่ายในเยเมนเริ่มการเจรจา โดยประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานีแห่งอิหร่าน กล่าวในงานประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกาที่กรุงจาการ์ตาว่า สันติภาพระยะยาวมีโอกาสเป็นไปได้หลังจากที่ริยาดยอมยุติการถล่มกบฏฮูตีที่ นับถือนิกายชีอะต์เช่นเดียวกับเตหะราน และมีการจัดเตรียมการเจรจาในบรรดากลุ่มการเมืองต่างๆ ในเยเมน รวมไปถึงโมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของริยาด และเรียกร้องให้เร่งเปิดเจรจา รวมถึงจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในเยเมน และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน อย่างไรก็ดีการโจมตีอีกครั้งในเยเมน จึงเป็นอุปสรรคในการเปิดเจรจาสันติภาพ 

 

-ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสลดลงจากปริมาณน้ำมันคงคลังที่ปรับสูง ขึ้น โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับเพิ่ มขึ้ น 5.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.9 ล้านบาร์เรล แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ระดับ 489 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่งเพิ่มขึ้น 789,000 บาร์เรล อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงจับตามองปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐหลัง EIA รายงานปริมาณน้ำมันที่ผลิตในสหรัฐฯ ลดลง 18,000 บาร์เรล ต่อวัน 

 

- นาย Tariq Zahir  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านน้ำมันของบริษัท Tyche Capital Advisor ได้เผยว่า ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัสอยู่ในสถานการณ์ที่ ควรจับตามองว่า ราคาน้ำมันจะขึ้นหรือจะลง โดยคาดว่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง -0.88 ถึง +  0.58  $/BBL ซึ่งทำให้ผู้เล่นยากต่อการตัดสินใจและระมัดระวังมากขึ้นอีกด้วย

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินเริ่มกลับเข้ามาในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านญี่ปุ่นที่มีการผลิตและส่งออกมากขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดยังได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการน้ำมันเบนซินจากทางด้านแอฟริกาและ อินเดีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินไม่ลดลงไปมากนัก

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าอุปทานน้ำมันดีเซลที่มากขึ้นเนื่องจากกลับมาของโรงกลั่นน้ำมันใน ภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดี อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากเอเชีย และยุโรป ยังคงช่วยให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่ลดลงไปมากกว่านี้ 

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับลดลงต่อเนื่องหรือไม่ หลัง EIA ส่งสัญญาณปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ปรับลดลงอีกครั้งในรอบ 3 เดือน และยืนอยู่ที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน  ซึ่งหากลดลงต่อเนื่องก็อาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันโลกล้นตลาดน้อยลง นอกจากนี้ IEA ยังได้ออกมาปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการผลิตน้ำมันดิบในอเมริกาเหนือใน ช่วงครึ่งปีหลังลง 160,000 บาร์เรลต่อวัน 

 

ทิศทางของเศรษฐกิจของยูโรโซนและทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อแก้ไข ภาวะเศรษฐกิจซบเซาและเงินฝืด โดยล่าสุดคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดในประวัติกาลที่ 0.05% และยืนยันว่า ECB จะเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป 

 

 จับตาว่าจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การปรับลดอัตราเงินสดสำรอง หรือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมหรือไม่ หลังอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลง ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานจีดีพีไตรมาส 1/58 ว่าขยายตัวที่ 7% ซึ่งถือว่าตกต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี 

 

อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โดยล่าสุดคาดว่าหน่วยการกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units) ในเอเชียแปซิฟิกจะปิดซ่อมบำรุงราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

วันพฤหัสบดี ดัชนีภาคการผลิตจีน - เม.ย.

ดัชนีภาคการบริการยูโรโซน - เม.ย.

ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - เม.ย.

วันศุกร์ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - มี.ค.


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 เม.ย. 2558 เวลา : 10:36:05

07-10-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ October 7, 2024, 9:20 pm