+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความกังวลด้านอุปทานของตะวันออกกลางที่อาจมีแนวโน้มตึงตัว หลังซาอุดิอาระเบียยังคงเดินหน้าโจมตีกลุ่มกบฏฮูธิในเยเมน ทั้งนี้ เยเมนนับเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับซาอุดิอาระเบียและมีเมืองท่าที่สำคัญใน การขนถ่ายน้ำมันดิบ ดังนั้น ความไม่สงบในเยเมนจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่ม ขึ้น
+ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นยังได้รับแรงสนับสนุนจากผลการคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มกลับคืนสู่สภาวะสมดุลเนื่องจากปริมาณอุปสงค์น้ำมัน ดิบโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับลดลงจากการชะลอการลงทุนการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมา- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 เม.ย. 58 ปรับเพิ่มขึ้น 1,000 ราย สู่ระดับ 295,000 ราย สวนทางกับที่คาดว่าจะปรับลดลง 8,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 286,000 ราย ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ปรับพิ่มขึ้น 1,750 ราย แตะระดับ 284,500 ราย ทั้งนี้ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนับเป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งชี้ถึงสถาวะตลาดแรงงาน สหรัฐฯ ที่ชะลอการเติบโตลง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดขายบ้านใหม่ประจำเดือน มี.ค 58 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 481,000 ยูนิต ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 56 และลดลงมากกว่าที่คาดกาณ์ ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงดังกล่าวแสดงถึงภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่เริ่มอ่อนตัวลง
- ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 58 ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.2 จุด สวนทางกับที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.0 จุด ซึ่งแสดงถึงภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอการเติบโตลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประเทศเคนย่า แอลจีเรียและแอฟริกา ประกอบกับแรงสนุบสนุนจากสถานการณ์น้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดการณ์
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงสนับสนุนของปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการของประเทศศรี ลังกาและเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรอบที่จำกัดเนื่องจากอุปทานที่ปรับเพิ่ม ขึ้นหลังโรงกลั่นในภูมิภาคเริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 54-59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 59-65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศเยเมนว่าเป็นไปในทิศทางใด หลังล่าสุดซาอุดิอาระเบียยังคงเดินหน้าทิ้งระเบิดโจมตีกลุ่มกฎบฮูธิในเยเมน ต่อ แม้ว่าซาอุดิอาระเบียจะออกมาเผยเมื่อวันอังคารที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมาว่าได้ยุติปฏิบัติการทางทหารในประเทศเยเมนเพื่อต่อต้านกลุ่มกบฏฮู ธิแล้ว หลังจากยืดเยื้อมานานกว่า 4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังเกิดการสู้รบในภาคพื้นดินอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มกบฏและกอง กำลังที่ภักดีต่ออดีตประธานาธิบดีของเยเมนซึ่งขณะนี้ได้ลี้ภัยไปยังซาอุดิอา ระเบียแล้ว จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาความขัด แย้งที่เกิดขึ้นในเยเมน อย่างไรก็ดี แม้ว่าเยเมนจะไม่ใช่ประเทศที่ผลิตน้ำมันหลัก แต่ตลาดก็มีความกังวลว่าสถานการณ์อาจจะบานปลายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันได้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลกระทบให้อุปทานน้ำมันดิบลดลง และทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้
ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ที่จัดขึ้นในวันที่ 28-29 เม.ย. นี้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Rate) หรือไม่ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ได้คงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำที่ร้อยละ 0 - 0.25 มานานกว่า 6 ปี หากเฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นและกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับลดลงได้
จับตาธนาคารกลางจีนว่าจะมีการออกมาตรการปรับลดสัดส่วนการกันสำรองสำหรับ ธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากมีการปรับลดไปแล้ว 1% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการปรับลดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ธนาคารกลางได้ปรับลดไปแล้ว 0.5% เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนอาจจะปรับลดอัตรา RRR ลงอีกภายในปีนี้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนยังมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจหลังจากที่มีการลดอัตรา RRR ว่าจะมีเสถียรภาพดีขึ้นหรือไม่ ถ้าหากเศรษฐกิจยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจน ธนาคารกลางจีนก็อาจจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างอื่นเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ จีนถือเป็นประเทศที่มีการบริโภคน้ำมันหลักของโลก ดังนั้นหากเศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้ก็จะทำให้ความต้องการน้ำมันดิบเพิ่ม ขึ้นตามไปด้วยและส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี ดัชนีภาคการผลิตจีน - เม.ย.
ดัชนีภาคการบริการยูโรโซน - เม.ย.
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - เม.ย.
วันศุกร์ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - มี.ค.
วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - เม.ย.
ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - เม.ย.
วันอังคาร ความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ เม.ย.
วันพุธ จีดีพีสหรัฐฯ - ไตรมาส 1/58
วันพฤหัสบดี อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - มี.ค.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Chicago's PMI) - เม.ย.
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS PMI) - เม.ย.
ดัชนีภาคการบริการจีน -เม.ย.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - เม.ย.
ข่าวเด่น