+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสเท็กซัสต์เปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาปิด ที่ระดับ 67.77 และ 60.93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบารร์เรล ตามลำดับ หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ค. 58 ปรับตัวลดลงถึง 3.9 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 487.03 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1.5 ล้านบาร์เรล และเป็นการปรับลดที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 57 สาเหตุหลักมาจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ลดลงราว 905,000 บาร์เรลต่อวัน เหลือเพียง 6.07 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2544
- อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงมีความกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับอุปทานล้นตลาดหลังกลุ่มประเทศโอเปก (OPEC) ไม่มีทีท่าที่จะปรับลดกำลังการผลิตภายในเดือน มิ.ย. หากประเทศนอกกลุมโอเปก (non-OPEC) อย่างรัสเซีย ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตด้วยเช่นกัน โดยการประชุมโอเปกครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันที่ 5 มิ.ย. 58
- นักวิเคราะห์ยังคงมีความกังวลถึงความไม่สัมพันธ์กันระหว่างตลาดค้าน้ำมัน ล่วงหน้าและตลาดน้ำมันดิบ ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ย. 57 เมื่อตลาดน้ำมันดิบที่อ่อนตัวอย่างรุนแรงส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดค้า น้ำมันล่วงหน้าร่วงลงอย่างไม่คาดคิด ข้อมูลด้านอุปทานจากกลุ่มประเทศโอเปกและองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เผยว่าน้ำมันถูกป้อนเข้าสู่ตลาดราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน มากกว่าที่ความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลก ซึ่งสาเหตุหลักยังคงมาจากการผลิตน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่องของ สหรัฐฯ
+ ยอดค้าปลีกยูโรโซน พ.ค. 58 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3 เหลือเพียงร้อยละ 1.6 น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ ร้อยละ 2.4 เนื่องจากยอดค้ายานพาหนะ สินค้านอกกลุ่มอาหารและสินค้าจำพวกอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.7 0.8 และ 0.6 ตามสำดับ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังราคาพลังงานและราคาน้ำมันเบนซินชนิด RBOB (Reformulated gasoil Blendstock for Oxygen Blending) ในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี อุปทานมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการกลับมาดำเนินการของโรงกลั่นน้ำมันภาย ในภูมิภาคหลังจากการปิดซ่อมบำรุงในช่วงต้นปี
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปทานของเวียดนามที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลประกาศลดกำแพงภาษีการนำเข้าน้ำมันดีเซลจาก ร้อยละ 20 เหลือเพียง ร้อยละ 12 อย่างไรก็ตามอุปทานภายในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการกลับมาดำเนิน การของโรงกลั่นน้ำมันภายในภูมิภาคหลังจากการปิดซ่อมบำรุง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ตลาดมีความกังวลด้านอุปทาน หลังการสู้รบในเยเมนยังคงยืดเยื้อ โดยล่าสุด ซาอุดิอาระเบียยังคงโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏฮูธิ (Houthi) ในเยเมนทางด้านตอนกลางและใต้ของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าปัญหาอาจจะบานปลายและส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมัน ดิบในภูมิภาค ถึงแม้ว่าเยเมนจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายเล็ก โดยผลิตได้เพียง 90,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 58 ซึ่งน้อยกว่า 1% ของปริมาณการผลิตทั่วโลก แต่มีชายฝั่งด้านหนึ่งติดกับช่องแคบบับเอลมันเดบ (Bab el-Mandeb) ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งน้ำมันผ่านคลองสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเชื่อมระหว่างทะเลแดง (Red Sea) กับอ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ซึ่งความขัดแย้งในภูมิภาคครั้งนี้ อาจเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งน้ำมันดิบราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน รวมถึงกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบในซาอุดิอาระเบีย และภูมิภาคตะวันออกกลางได้
อุปทานน้ำมันดิบจากผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด นายอาลี อัล-ไนมี รมว.กระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย แสดงความเห็นว่าอุปสงค์น้ำมันดิบในเอเชียยังคงมีความแข็งแกร่ง และซาอุดิอาระเบียพร้อมที่จะส่งออกน้ำมันดิบเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียผลิตน้ำมันดิบแตะระดับ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ที่ 10.2 ล้านบาร์เรลเมื่อเดือน ส.ค. 56
การชะลอแผนการลงทุนขุดเจาะและผลิตน้ำมันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง หลังจากปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา
ติดตามทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลังคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลงมติในการประชุมเมื่อวันที่ 28-29 เม.ย. ให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วงร้อยละ 0-0.25 ต่อไป ในขณะที่ Fed ยังไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับกำหนดการในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ Fed ได้ระบุว่าการชะลอตัวของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1/58 เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจชั่วคราว โดย Fed มีแนวโน้มที่จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการสร้างความมั่นใจต่อการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ
อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้ โดยล่าสุดมีการคาดการณ์ว่าหน่วยการกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกราว 2 ล้านบาร์เรลจะถูกปิดซ่อมบำรุงในช่วงไตรมาส 2 นี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี อัตราการว่างงานยูโรโซน - มี.ค.
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - เม.ย.
วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - เม.ย.
วันอังคาร ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ (ISM PMI) - เม.ย.
วันพุธ ยอดค้าปลีกยูโรโซน
วันพฤหัสบดี ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน (YoY) - เม.ย.
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - เม.ย.
ข่าวเด่น