- ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเนื่องจากมีสัญญาณว่ามีการเพิ่มกำลังการผลิต Shale Oil ในสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยมีการเพิ่มบริเวณขุดเจาะน้ำมัน Shale Oil ที่แหล่ง Permian บริเวณ West Texas และ Eastern New Mexico เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มแหล่งขุดเจาะเป็นครั้งแรกในรอบปีนี้หลังจากมีการลด กำลังการผลิตลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ได้คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตน้ำมัน Shale Oil ที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วจากผู้ผลิตรายต่างๆ ในสหรัฐฯ นั้น จะมีกำลังการผลิตลดลงถึง 71,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน มิ.ย. มาสู่ระดับ 4.97 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากที่ราคาน้ำมันลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการเงิน และการผลิตน้ำมัน Shale Oil ที่เป็นนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร เนื่องจากนักลงทุนกลับมากังวลอีกครั้งต่อการที่ประเทศกรีซจะออกจากกลุ่ม ประเทศยูโรโซน และค่าเงินดอลลาร์ของนิวซีแลนด์ที่มีค่าลดลงต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 7 สัปดาห์ด้วยกัน ทำให้ธนาคารกลางของนิวซีแลนด์อาจทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงตามเช่นกัน
+ ประเทศจีนได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อให้ต้นทุนในการกู้ยืมของบริษัทต่างๆ นั้นมีค่าลดลงและเพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยนักลงทุนมีความหวังว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของจีนครั้งนี้ จะทำให้จีนซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานเป็นอันดับ 1 ของโลก จะมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น และเพื่อที่จะบรรเทาปริมาณน้ำมันที่ล้นตลาดอยู่ในขณะนี้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มมากขึ้นจากทางด้านสหรัฐฯ ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว และจากประเทศแถบตะวันออกกลาง เนื่องจากเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในหน้าร้อนนี้ แต่อย่างไรก็ตามอุปทานก็ปรับเพิ่มขึ้นตามเช่นกัน จากการที่โรงกลั่นต่างๆ กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังจากที่ปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลในช่วงที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์จากทางด้านปากีสถานและซาอุดิอาระเบียเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อน และยังมีอุปสงค์จากทางด้านเกษตรกรรม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าปกติจึงทำให้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจาก พลังงานน้ำได้เพียงพอ จึงต้องใช้น้ำมันดีเซลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทน ประกอบกับอุปทานที่ตึงตัวในขณะนี้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ตลาดยังมีความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบที่อาจจะตึงตัวมากขึ้นจาก สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยังยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศลิเบียได้ทำการปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบที่ ลำเลียงไปยังท่าเรือ Zueitina ทำให้การดำเนินงานบริเวณท่าเรือต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียลดลงมาอยู่ระดับต่ำกว่า 500,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้การสู้รบระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกลุ่มกบฏฮูธิในเยเมนก็ยังไม่มีที ท่าที่จะยุติลงได้ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียได้ส่งทหารเข้าไปยังเมืองท่าเอเดน ของเยเมนแล้ว โดยการปฏิบัติการครั้งนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติภาคพื้นดินครั้งแรกนับตั้งแต่ ซาอุดิอาระเบียได้เริ่มเปิดสงครามทางอากาศกับเยเมนเมื่อปลายเดือน มี.ค. แม้ว่าเยเมนจะไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ แต่จากสถาการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าปัญหาอาจจะบานปลายและส่งผล กระทบต่อการส่งออกน้ำมันดิบในภูมิภาคได้
อิหร่านเผยว่า หากอิหร่านสามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับชาติมหาอำนาจทั้งหกได้ ซึ่งมีกำหนดเส้นตายวันที่ 30 มิ.ย. 58 นี้ อิหร่านตัดสินใจจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบมากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอิหร่านได้ลดกำลังการผลิตลงไปกว่า 60% โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของอิหร่านกล่าวว่าอิหร่านต้องการเพิ่มส่วนแบ่ง การตลาดน้ำมันดิบโลก
จับตาการเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซนที่จะเกิดขึ้นในวัน จันทร์ที่ 11 พ.ค. 58 นี้ ว่ากรีซจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงได้จะทำให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่ ทั้งนี้ ในวันที่12 พ.ค. 58 นี้ กรีซมีกำหนดชำระหนี้มูลค่า 750 ล้านยูโร ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งตลาดยังคงมีความกังวลอยู่ว่ากรีซจะเผชิญกับภาวะขาดแคลนเงินสดและไม่ สามารถชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ดี ล่าสุดธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้อนุมัติให้มีการเพิ่มเพดานเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือ Emergency Liquidity Assistance (ELA) ให้แก่ธนาคารของกรีซอีกเป็น 7.89 หมื่นล้านยูโร จากระดับเดิมที่ 7.69 หมื่นล้านยูโร
จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด Baker Huges เปิดเผยข้อมูลจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ค. ปรับลดลง 24 แท่น เหลือเพียง 679 แท่น อย่างไรก็ดี การลดลงของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับลดลงน้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งการปรับลดลงของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในอัตราที่ช้าลง อาจส่งสัญญาณว่าการลดลงของแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบอาจจะสิ้นสุดลงในเร็วๆ นี้ หลังจากก่อนหน้านี้ ได้ปรับลดลงกว่าร้อยละ 60 ในเดือน มี.ค. 58 จากระดับที่สูงที่สุดในเดือน มิ.ย. 57
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี PMI ภาคการผลิตของจีน -เม.ย.
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน (YoY) - เม.ย.
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - เม.ย.
วันพุธ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - เม.ย.
ยอดค้าปลีกจีน - เม.ย.
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน - มี.ค.
จีดีพียูโรโซน - ไตรมาส 1/58
ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - สหรัฐฯ
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 8 พ.ค.
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - เม.ย.
ข่าวเด่น