- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับลดลงมากกว่า 2 เหรียญ หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ ประกอบกับปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ เกือบ 10 ปีและปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ล้านบาร์เรลต่อวัน และปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังยังยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่แล้วเกือบ 90 ล้านบาร์เรล ทำให้ตลาดกังวลว่าปริมาณน้ำมันดิบยังคงล้นตลาด อย่างต่อเนื่องและส่งผลกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
- Goldman Sachs คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสจะปรับลดลงไปถึง 45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในเดือน ต.ค.ปีนี้ เนื่องจากอุปทานที่ยังคงมากกว่าอุปสงค์อย่างต่อเนื่อง และมองว่าราคาจะกลับมาแตะระดับ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอีกครั้งในปี 2559 พร้อมทั้งมองว่าส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและน้ำมันดิบ เบรนท์ จะต่างกันปะมาณ 6 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2558 และ 5 เหรียญในปี 2559
+ อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) เปิดเผยรายงานประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 พ.ค. 58 ว่าตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 5.2 ล้านบาร์เรล ไปอยู่ที่ระดับ 476.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งลดลงมากกว่ากับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า จะลดลง 1 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบที่จุดส่งมอบคุชชิ่งโอกลาโฮมาและปริมาณน้ำมันเบนซินลด ลง 217,000 บาร์เรล และ 1.2 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ
+/- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย.ในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ปรับตัวขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และอยู่ที่ 0% เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นสัญญาณบวกที่สะท้อนถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ดีขึ้นเล็กน้อยในยู โรโซน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยเฉพาะจากอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ดีอุปทานในภูมิภาคเอเชียยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิกยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดีเซลยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์จากซาอุดิอาระเบียในช่วง ฤดูร้อนและในช่วงก่อนฤดูถือศีลอดในเดือนมิ.ย.
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 55-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
สถานการณ์ความไม่สงบในเยเมนยังคงปะทุต่อเนื่อง โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบียยังคงดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏฮูตีใน ประเทศเยเมน โดยการโจมตีทางอากาศครั้งนี้ส่งผลให้ฐานเก็บจรวดของกบฏในกรุงซานาระเบิด และมีผู้เสียชีวิตถึง 90 คนและบาดเจ็บมากกว่า 300 คน ซึ่งนับเป็นการทิ้งระเบิดปลิดชีพผู้คนมากที่สุดในคราวเดียว นับตั้งแต่สงครามเยเมนเริ่มต้นขึ้น สงครามที่รุนแรงเช่นนี้ส่งผลให้เกิดความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบ เนื่องจากเยเมนตั้อยู่ในเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งในการขนส่งน้ำมัน ดิบ
อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย เข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้
อุปทานน้ำมันดิบจากผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ซาอุดิอาระเบียยังคงเดินหน้าผลิตน้ำมันดิบที่ระดับสูงต่อเนื่องและยืนยันที่ จะส่งออกน้ำมันดิบเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด นอกจากนี้ ตัวแทนจากกลุ่มโอเปกออกมายืนกรานว่า จะไม่มีการลดกำลังการผลิตลงในการประชุมกลุ่มโอเปกในวันที่ 5 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก
ติดตามทิศทางเศรษฐกิจจีนว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจาก PBOC ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา 1 ปีลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.35 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และป้องกันความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจีนอาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 8 พ.ค.
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - เม.ย.
วันอังคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - เม.ย.
วันพฤหัสบดี ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ - เม.ย.
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - พ.ค.
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - เม.ย.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - พ.ค.
ข่าวเด่น