+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มหลังสำนักงานสารสนเทศด้าน พลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ประกาศปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงราว 2.7 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่สำนักงานข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ราว 3 เท่า หลังโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 245,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้โรงกลั่นมี utilization rate เฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 92.4 นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลงเช่นกันราว 241,000 บาร์เรลเป็นสัปดาห์ที่สี่ติดต่อกัน
+ ซาอุดิอาระเบียส่งกองกำลังทางอากาศไปโจมตีเมือง Sadaa ประเทศเยเมน โดยการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เช้าของวันที่ 20 พ.ค. ถึงเที่ยงคืน นับเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ส่งกองกำลังเข้าไปในวัน ที่ 26 มี.ค. ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลไม่มีทีท่าที่จะประนีประนอมกับกลุ่มกบฏหากกลุ่มกบฏยังไม่ ยอมถอนกองกำลังติดอาวุธออกจากพื้นที่ในเมืองต่างๆ
+ นาย Reyad Yassin Abulla รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยเมน แสดงเจตจำนงที่จะไม่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องความขัดแย้งใน ประเทศเยเมน ที่จะจัดขึ้น ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 28 พ.ค. หลังอ้างว่าประเทศเยเมนไม่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการให้เข้าร่วมการประชุม และต้องการเวลามากกว่านี้ในการเตรียมตัว
- ธนาคารกลางของประเทศสหรัฐฯ (FED) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะประกาศปรับเพิ่มดอกเบี้ยในช่วงเดือน มิ.ย. แม้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะค่อนข้างรุนแรงแต่ตลาดแรงงานที่ซบเซากว่าที่คาดการณ์ ทำให้นักลงทุนหลายรายยังคงรอคำตอบถึงทิศทางที่แน่ชัดจาก Janet Yellen ที่จะแถลงการณ์เรื่องนโยบายดอกเบี้ยในวันศุกร์ที่ 22 พ.ค.
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูงหลังโรงกลั่นใหม่ในตะวันออก กลางปรับเพิ่มกำลังการผลิต แม้ว่าอุปสงค์ของประเทศอินเดียและปากีสถานจะอยู่ในระดับที่ดีแต่ยังคงไม่ เพียงพอที่จะรองรับอุปทานที่เพิ่มขึ้นนี้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงกดดันของอุปทานในภูมิภาคเอเชียที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดีเซลยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ดีในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาตะวันออก
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 55-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
สถานการณ์ความไม่สงบในเยเมนยังคงปะทุต่อเนื่อง โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบียยังคงดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏฮูตีใน ประเทศเยเมน โดยการโจมตีทางอากาศครั้งนี้ส่งผลให้ฐานเก็บจรวดของกบฏในกรุงซานาระเบิด และมีผู้เสียชีวิตถึง 90 คนและบาดเจ็บมากกว่า 300 คน ซึ่งนับเป็นการทิ้งระเบิดปลิดชีพผู้คนมากที่สุดในคราวเดียว นับตั้งแต่สงครามเยเมนเริ่มต้นขึ้น สงครามที่รุนแรงเช่นนี้ส่งผลให้เกิดความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบ เนื่องจากเยเมนตั้งอยู่ในเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งในการขนส่งน้ำมัน ดิบ
อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย เข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 8 พ.ค.
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - เม.ย.
วันอังคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน - เม.ย.
วันพฤหัสบดี ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ - เม.ย.
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - พ.ค.
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - เม.ย.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - พ.ค.
ข่าวเด่น