ตลาดปิดเนื่องในวันหยุด Memorial Day โดยราคาซื้อขายในกระดานอิเล็กทรอนิกส์เมื่อคืนที่ผ่านมา (01.13 น.) ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอยู่ที่ 59.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ซื้อขายที่ระดับ 65.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
+ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบซื้อขายระหว่างวันปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวใน สหรัฐฯ (มิ.ย. – ส.ค.) โดยสมาคมยานยนต์ของสหรัฐฯ (American Aotomobile Association) คาดการใช้รถยนต์ในช่วงดังกล่าวจะมีปริมาณสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา
+ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชีย โดยในเดือน เม.ย. 58 ที่ผ่านมา การนำเข้าน้ำมันดิบของประเทศญี่ปุ่นในปรับตัวสูงขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 3.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ประเทศจีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาแตะที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 7.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ่นอย่างต่อเนื่อง
+ นอกจากนี้ สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังคงส่งผลให้ตลาดมีความกังวลต่อ เสถียรภาพของปริมาณอุปทานน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดรัฐบาลลิเบียได้ส่งกองกำลังทางอากาศเข้าโจมตีเรือบรรทุกน้ำมัน บริเวณนอกเมือง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 3 ราย และส่งผลให้เรือบรรทุกน้ำมันดังกล่าวไดรับความเสียหายจากเพลิงไหม้ ทั้งนี้ เหตุการณ์โจมตีทางอากาศดังกล่าวสืบเนื่องจากจากความขัดแย้งทางการเมืองใน ประเทศระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายรัฐสภาซึ่งมีมายาวนานกว่า 4 ปี
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรอบที่จำกัด เนื่องจากยังคงมีแรงกดดันด้านอุปทานจากอิหร่านที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หากอิหร่านและประเทศมหาอำนาจ 6 ประเทศ สามารถหาข้อยุติในการเจรจาในประเด็นโครงการนิวเคลียร์ได้ในวันที่ 30 มิ.ย. 58 นี้ ทั้งนี้ อิหร่านคาดว่าหลังความสำเร็จดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมารการผลิตน้ำมันดิบปรับ ตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 170,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในเดือน มี.ค. 59 และการส่งออกเพิ่มขึ้นาอยู่ที่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ปรับเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักเช่น อินโดนีเซีย อินเดีย และเคนย่า ประกอบกับความต้องการนำเข้าน้ำมันเบนซินที่มีมากขึ้นจากประเทศจีน นอกจากนั้น ตลาดน้ำมันเบนซินในภูมิภาคเอเชียยังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้ที่เพิ่ม ขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ในช่วงเทศกาลวันหยุด
ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากอัตราการผลิตของโรงกลั่น น้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากส่วนต่างราคาระหว่างราคาน้ำมันดิบและน้ำมันดีเซลที่ จูงใจ นอกจากนั้นราคาน้ำมันดีเซลยังถูกกดดันจากปริมาณการส่งออกของประเทศจีนที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่อยู่ในระดับสูง และความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภาคประมงของจีนตอนใต้ที่ปรับตัวลดลงในช่วง ฤดูปลาวางไข่ (พ.ค.-ส.ค.)
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 55-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดมองว่าอุปทานน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สี่ติดต่อกัน โดยปรับลดลงสู่ระดับ 482.2 ล้านบาร์เรล หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นหลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง และส่งสัญญาณถึงอุปสงค์ที่ปรับเพิ่มขึ้นก่อนเข้าสู่ฤดูการขับขี่ฤดูร้อนของ สหรัฐฯ (มิ.ย. – ส.ค.) อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่ระดับปัจจุบัน ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของปีก่อนหน้า
จับตาซาอุดิอาระเบียว่าจะยังคงเดินหน้าผลิตและส่งออกน้ำมันดิบน้ำมันดิบ ในระดับสูงต่อไปหรือไม่ เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ โดยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาซาอุฯ ผลิตน้ำมันดิบแตะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 10.36 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่การส่งออกก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ระดับ 7.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน
การเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งจะส่งผลต่อ โดยล่าสุดกรีซได้มีการชำระหนี้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ไปแล้วส่วนหนึ่งจำนวน 750 ล้านยูโร เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี กรีซมีนัดชำระหนี้กับ IMF งวดถัดไป จำนวน 1.5 พันล้านยูโร ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ซึ่งหลายฝ่ายยังคงกังวลว่ากรีซมีแนวโน้มที่จะขาดสภาพคล่องและไม่สามารถชำระ หนี้ IMF ทันกำหนด เนื่องจากในตอนนี้กรีซยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับทางกลุ่มเจ้าหนี้ได้ และอาจเป็นเหตุให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือรอบใหม่จากยูโรโซนมูลค่าราว 7 พันล้านยูโร ในวันที่ 3 มิ.ย.
ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อทั้งใน เยเมน อิรัก และลิเบีย เป็นต้น ยังคงสร้างความกังวลว่าจะกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบของภูมิภาคและยังคงส่งแรง หนุนต่อราคาน้ำมันดิบโลกในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี ตลาดยังเฝ้าจับตากระแสตอบรับก่อนการประชุมโอเปกที่จะจัดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 5 มิ.ย. นี้ ว่าจะมีการตัดสินใจปรับลดกำลังการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมันดิบหรือไม่ หลังนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าโอเปกจะไม่ลดกำลังการผลิตลง และจะยังคงโควต้าการปลิตของกลุ่มที่ระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันต่อไป
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ - เม.ย.
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - พ.ค.
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - เม.ย.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - พ.ค.
วันอังคาร ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - เม.ย.
ความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ - พ.ค.
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์ จีดีพี ไตรมาส1/2558 สหรัฐฯ (YoY)
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Chicago PMI) - พ.ค.
ข่าวเด่น