+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3% โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นไปแตะระดับราว 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรจากการที่คาดการณ์ว่าตัวเลขปริมาณน้ำมัน ดิบคงคลังของสหรัฐฯ จะปรับลดลงอีกในสัปดาห์นี้ ประกอบกับคาดการณ์ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ว่ากำลังการผลิตน้ำมันจากหินดินดาน (Shale Oil) ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงทำให้ภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดน่าจะคลี่คลายลงไป ได้บ้าง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงสนับสนุนจากตัวเลขอุปสงค์น้ำมันดิบที่คาดว่ามีแนว โน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการที่ทวีปยุโรปและสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวประจำปี
+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณนํ้ามันดิบคงคลังปรับลดลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลดลง 6.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 473.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงที่ 1.72 ล้านบาร์เรล เนื่องจากอัตรากําลังการผลิตของโรงกลั่นสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.4% เป็น 94.3% และการนําเข้านํ้ามันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง ราว 357,000 บาร์เรลต่อวัน มาสู่ระดับ 7.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังคงคลังก็ปรับลดลงเช่นกันที่ 3.87 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่น้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่มขึ้นที่ 38,000 ล้านบาร์เรล
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่ากำลังการผลิตน้ำมันจากหินดินดาน (Shale Oil) ของผู้ผลิตรายใหญ่ในสหรัฐฯ คาดว่าจะยังปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือน ก.ค. ราว 75,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 4.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน
-/+ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า การที่ซาอุดิอาระเบียเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจนแตะระดับการผลิตสูงสุดที่ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมี.ค.นั้น เหตุเพราะความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากการที่ราคาน้ำมันดิบลดต่ำลงใน ช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุด EIA คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันดิบโลกจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 380,000 บาร์เรลต่อวัน จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 340,000 บาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์อยู่อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมุสลิมที่มีแรงซื้อก่อนเข้าสู่เทศกาลถือศีลอดที่จะ เริ่มขึ้นในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในทวีปยุโรปและสหรัฐฯ ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เพื่อเตรียมการสำหรับใช้ในฤดูกาลท่องเที่ยวนี้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนหลักจากอุปสงค์จากภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วงฤดูร้อนและใน ช่วงก่อนฤดูถือศีลอดในดือนมิ.ย.อย่างไรก็ดี โรงกลั่นในภูมิภาคเอเชียเริ่มกลับมา ดําเนินการตามปกติหลังมีการปิดซ่อมบํารุงประจําปี ประกอบกับประเทศจีนเพิ่มการส่งออกน้ำมันดีเซล อาจจะส่งผลให้มีอุปทานน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นและกดดันราคาน้ำมันดีเซลได้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 56-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันดิบประจำเดือน มิ.ย. ของสำนักงานสารสนเทศน์ด้านพลังงานสหรัฐฯ หรือ EIA (9 มิ.ย.) โอเปก (10 มิ.ย.) และสำนักงานพลังงานสากล หรือ IEA (11 มิ.ย.) ว่าจะมีการปรับเพิ่มหรือลดคาดการณ์อุปสงค์-อุปทานน้ำมันในตลาดโลกอย่างไร
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับโรงกลั่นหลายแห่งปรับเพิ่มกำลังผลิตขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ ที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวหน้าร้อนของสหรัฐฯ ซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี
นอกจากนี้จับตาปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่สัปดาห์ล่าสุดมีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังการผลิตมีแนวโน้มคงที่มาตั้งแต่เดือน เม.ย. ทั้งนี้ หลายฝ่ายมองว่าราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวเหนือระดับ 60-65 เหรียญฯ อาจเพิ่มความจูงใจให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง
ติดตามทิศทางของเศรษฐกิจของยูโรโซนและทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจซบเซาและเงินฝืด หลังล่าสุดธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำที่ 0.05% ทั้งยังพร้อมเดินหน้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) มูลค่า 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน คิดเป็นวงเงินรวม 1.1 ล้านล้านยูโร จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการใน เดือน ก.ย. ด้วย
การเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซว่าจะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป หลังล่าสุดกรีซขอเลื่อนการชำระหนี้งวดแรกของเดือน จำนวน 300 ล้านยูโรแก่ IMF ที่มีกำหนดจ่ายเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ออกไป โดยขอทบหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมด 4 งวดมูลค่ารวม1,600 ล้านยูโร ไปจ่ายรวมกันครั้งเดียวภายในวันที่ 30 มิ.ย.แทน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันอังคาร ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - พ.ค.
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - พ.ค.
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 6 มิ.ย.
ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - พ.ค.
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน (YoY) - เม.ย.
ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - พ.ค
วันพุธ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ (Federal Funds Rate)
วันพฤหัสบดี ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - พ.ค.
ข่าวเด่น