ราคาน้ำมันดิบเบนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง หลัง FED คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับต่ำใกล้ 0.0%อย่างไรก็ดี FED ยังมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2558 ที่แม้ว่าจะลดลงเล็กน้อยจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 2.3 - 2.7% มาเติบโตที่อัตรา 1.8 - 2.0% แต่ก็ยังถือว่าเป็นอัตราที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงแนวโน้มการเจริญเติบ โตที่ดี ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่ FED จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นภายในสิ้นปีนี้ ภายในสิ้นปีนี้ โดยนางเจเนล เยลเลน กล่าวว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพิจารณาปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED
- ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสได้รับแรงกดดันจากตัวเลขปริมาณน้ำมัน เบนซินคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 12 มิ.ย. 58 ที่รายงานโดย สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ว่ามีการปรับเพิ่มขึ้น 460,000 บาร์เรล สวนทางกับรายงานของ API และนักวิเคราะห์ ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้น 112,000 บาร์เรลด้วย ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน เม.ย. อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 467.93 ล้านบาร์เรล สาเหตุเนื่องจาก โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ยังคงกำลังการผลิตอยู่ในระดับที่สูง
- ความคืบหน้าล่าสุด กรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยังคงไม่สามารถตกลงกันได้สำหรับแผนปฎิรูปของกรีซเพื่อ แลกกับเงินช่วยเหลือ 7.2 พันล้านยูโร โดยประเด็นที่ยังคงไม่เห็นพ้องกันคือ การลดเงินบำเน็ญบำนาญและเงินเดือนของข้าราชการ ที่กลุ่มเจ้าหนี้ต้องการให้ลดลง 1% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 16% ของ GDP ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้กว่า 1.6 พันล้านยูโรในสิ้นเดือนนี้ โดยในวันนี้จะมีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่มยูโรโซน ซึ่งคาดว่าก็น่าจะยังตกลงกันไม่ได้
- ผลสำรวจของ Reuters ในช่วง 15 วันแรกของเดือน พบว่าอิรักส่งออกน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจาก 3.1 ล้านบาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการเพิ่มการส่งออกทางตอนใต้ของอิรักที่ มีการปรับเพิ่มขึ้นจาก 2.69 ล้านบาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 3.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม การส่งออกทางตอนเหนือลดลงจาก 451,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ประมาณ 200,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงซื้อจากในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง ในช่วงก่อนเข้าฤดูกาลถือศีลอดที่จะเริ่มขึ้นในวันนี้ ประกอบกับสหรัฐฯ ที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงฤดูกาลขับขี่หน้าร้อนของปีที่มีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังโดนกดดันจากอุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีสาเหตุมาจากโรงกลั่นในภูมิภาคเริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงประจำปีและ ค่าขนส่งที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทำให้ไม่คุ้มค่าที่จะส่งออกน้ำมันดีเซลส่วนเกินไปยังยุโรป
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดที่คาดว่าจะยังคงกดดันราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ หลังการประชุมโอเปก เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีมติคงโควต้าการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับเดิมคือ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดจากผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกที่ยังคงปริมาณการ ผลิตอยู่ในระดับที่สูงเช่นกัน โดยข้อมูลล่าสุดในเดือน พ.ค. พบว่า ซาอุดิอาระเบียผลิตน้ำมันดิบอยู่ในระดับที่สูงประมาณ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ตัวแทนจากบริษัทน้ำมันของลิเบียเปิดเผยว่าในช่วงเดือนรามาดอนนี้ จะพยายามในการที่จะเปิดดำเนินการแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Feel และ El Sharara รวมทั้งท่าเรือ Zueitina port ที่ปิดดำเนินการไปในช่วงก่อน โดยหากสามารถเปิดดำเนินการได้ทั้งหมดจะทำให้กำลังการผลิตของลิเบียปรับเพิ่ม ขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ 432,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นประมาณ 800,000 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับโรงกลั่นหลายแห่งปรับเพิ่มกำลังผลิตขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ ที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวหน้าร้อนของสหรัฐฯ ซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี
ติดตามการเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หลังกรีซมีกำหนดชำระหนี้กับ IMF งวดถัดไปกว่า 1.6 พันล้านยูโร ภายในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ และหลายฝ่ายยังคงกังวลว่ากรีซมีแนวโน้มที่จะขาดสภาพคล่องและไม่สามารถชำระ หนี้ IMF ทันกำหนด ซึ่งอาจทำให้กรีซต้องเผชิญกับการเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ได้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันอังคาร ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - พ.ค.
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - พ.ค.
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 6 มิ.ย.
ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - พ.ค.
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน (YoY) - เม.ย.
ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (YoY) - พ.ค
ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (MoM) - พ.ค
วันพุธ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ (Federal Funds Rate)
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 12 มิ.ย.
ข่าวเด่น