+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวเพิ่มขึ้น ตอบรับผลการประชุมระหว่างรัฐมนตรีการคลัง 19 ชาติยูโรโซน ในประเด็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้ของกรีซ ที่มีขึ้นวานนี้ (22 มิ.ย. 58) โดยที่ประชุมได้ตอบรับการยื่นข้อเสนอปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซเพื่อแลกเปลี่ยน กับเงินกู้งวดสุดท้ายจำนวน 7,200 ล้านยูโร เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้จำนวน 1,600 ล้านยูโรให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตามกำหนดในวันที่ 30 มิ.ย. 58 ทั้งนี้ ที่ประชุมระบุว่าข้อเสนอของกรีซฉบับล่าสุดนับเป็นสัญญาณเชิงบวกในการเริ่ม ต้นเจรจาที่ดี แต่ที่ประชุมยังคงต้องใช้เวลาในการศึกษารายละเอียดของแผนปฎิรูปดังกล่าว อย่างละเอียดเพื่อพิจารณาว่าจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่ โดยรัฐมนตรีคลังยูโรโซนมีแผนจะร่วมหารือเพื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวอีก ครั้งภายในสัปดาห์นี้
+ สำนักข่าวรอยเตอร์ คาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.ย. 58 มีแนวโน้มปรับตัวลดลง 1.8 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 466.1 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังมีแนวโน้มปรับลดลงเช่นกันที่ 0.4 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันกลุ่มให้ความร้อนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1.1 ล้านบาร์เรล
+ ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 58 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.1% สู่ระดับ 5.4 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 52 และสูงกว่าที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.2% มาอยู่ที่ระดับ 5.3 ล้านยูนิต นอกจากนั้น ยอดขายบ้านมือสองในเดือน เม.ย 58 ถูกปรับทบทวนมาอยู่ที่ระดับ 5.09 ล้านยูนิต จากเดิมที่ 5.04 ล้านยูนิต ทั้งนี้ จำนวนยอดขายบ้านของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนับป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวของ ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
+ ดัชนีกิจกรรมการผลิตของสหรัฐฯ (Chicago Fed National Activity Index) ประจำเดือน พ.ค. 58 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -0.17 จากระดับในเดือนก่อนหน้าที่ -0.19 โดยมีสาเหตุหลักจากปริมาณยอดขายและยอดคำสั่งซื้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีกิจกรรมการผลิตปรับตัวดีขึ้นในกรอบที่จำกัด จากแรงกดดันของอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 5.5% แต่เมื่อพิจารณาดัชนีโดยรวมยังถือว่าปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน หน้า นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาคการผลิตของสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัว
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงกดดันของอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในสภาวะอ่อนแรง เนื่องจากในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ประเทศจีนมีปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินลดลง ขณะที่ ปริมาณการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงในกรอบที่จำกัด จากแรงสนับสนุนของอุปสงค์ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแอฟริกาตะวันออก เช่น เคนย่า และแทนซาเนีย
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
การแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซที่ยังไม่มีข้อสรุปจะส่งผลกดดันราคาน้ำมัน ต่อไปหรือไม่ โดยล่าสุดยังไม่มีแนวโน้มว่ากรีซจะสามารถหาเงินมาชำระหนี้งวดล่าสุดให้แก่ IMF ราว 1.6 พันล้านยูโร ได้ทันก่อนเส้นตายที่กำหนดไว้ในวันที่ 30 มิ.ย. นี้ หลังการเจรจาร่วมระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ล้มเหลวไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน มา โดยทั้งสองฝ่ายยังคงตกลงกันไม่ได้ในเรื่องแผนปฎิรูปของกรีซ การลดเงินบำเน็ญบำนาญและเงินเดือนของข้าราชการ
การผลิตน้ำมันในลิเบียที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ 432,000 บาร์เรลต่อวัน ไปแตะระดับ 800,000 บาร์เรลต่อวัน หลังรัฐบาลลิเบียพยายามที่จะกลับมาเปิดดำเนินการแหล่งผลิต El Sharara และ El Feel รวมถึงท่าเรือ Zueitina ใหม่อีกครั้ง ซึ่งอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้นนี้อาจส่งผลกดดันราคาน้ำมัน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นหลายแห่งเพิ่มกำลังผลิตขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ที่คาดว่า จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวหน้าร้อนของสหรัฐฯ ซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี อาจส่งแรงหนุนต่อราคาน้ำมัน
จับตาทิศทางเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำช่วง 0-0.25% ต่อไป ในการประชุมที่ผ่านมา ขณะที่ FED ส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ โดยมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2558 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวที่ราว 1.8%-2.0%
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน - มิ.ย.
วันอังคาร ดัชนีภาคการผลิตจีน - มิ.ย.
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - มิ.ย.
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - พ.ค.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ - พ.ค. (Markit PMI)
วันพุธ จีดีพีไตรมาส 1/58 สหรัฐฯ
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 19 มิ.ย.
วันศุกร์ ดัชนีความอ่อนไหวของประชากรสหรัฐฯ - พ.ค.
ข่าวเด่น