- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังตลาดมีความกังวลในปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงคลังในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำมันดิบปริมาณมากจากทางไนจีเรียไม่สามารถนำเข้าไปขายในสหรัฐฯได้ ในขณะนี้ ไนจีเรียมีน้ำมันดิบประมาณ 10 ล้านบาร์เรลที่รอส่งออก หลังจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันรายใหญ่จากไนจีเรียเกือบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดการนำเข้าเหลือเพียง 600,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น นอกจากนี้ตลาดคาดการณ์ว่า ไนจีเรียจะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ส.ค. อีกด้วย
- รวมไปถึงสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของกรีซที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนหลังกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจในยุโรป โดยในการประชุมเมื่อวานนี้ (25 มิ.ย.) ยังไม่สามารถหาข้อตกลงระหว่างกรีซกับบรรดาเจ้าหนี้หลักได้แก่ สหภาพยุโรปและ IMF นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ กล่าวว่า เขามั่นใจในความสามารถของรัฐบาลกรีซและบรรดาเจ้าหนี้ที่จะหาข้อสรุปร่วมกัน ได้ในการอนุมัติเงินกู้ก้อนใหม่ให้กรีซ ทั้งนี้บรรดาผู้นำสหภาพยุโรปต้องการให้กรีซทำการปฏิรูปและตัดงบประมาณเพิ่ม เติมก่อนที่จะทำการอนุมัติเงินกู้ก้อนใหม่ให้กรีซ อย่างไรก็ตามกรีซและบรรดาเจ้าหนี้ต่างพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการ ปฏิรูปให้ได้ภายในสัปดาห์นี้
-/+ นักลงทุนยังคงจับตามองการเจรจาการจัดการนิวเคลียร์ในวันที่ 30 มิ.ย. ระหว่าง 6 ชาติมหาอำนาจและอิหร่าน หากการเจรจาจบลงด้วยดี และมีการยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่าน จะส่งผลให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันได้อีกครั้ง ทำให้ปริมาณน้ำมันในตลาดจะมากขึ้นกดดันราคาน้ำมันดิบให้ลดลงไปอยู่ระดับต่ำ กว่า 60 หรียญต่อบาร์เรล
+ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 20 มิ.ย. ปรับสู่ระดับ 271,000 ราย น้อยกว่าที่นักวเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 273,000 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 16 เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว รวมถึงปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินจากจีนและญี่ปุ่นที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดีอุปสงค์ในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับคงตัว สนับสนุนราคาน้ำมันเบนซินให้ไม่ตกลงมากนัก
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปทานในภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้น ในเอเชียเหนือ อินเดีย และไทย ประกอบกับโรงกลั่นในภูมิภาคเพิ่มกำลังการผลิตและไม่มีท่าทีจะทำการปิดซ่อม บำรุง ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเดีเซลล้นตลาด
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามการเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจ (P5+1) เพื่อบรรลุข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ก่อนถึงเส้นตายวันที่ 30 มิ.ย. 58 นี้ โดยชาติมหาอำนาจทั้ง 6 คาดหวังที่จะบรรลุข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ โดยมีเงื่อนไขว่าอิหร่านต้องยอมลดศักยภาพด้านนิวเคลียร์ลงจนถึงจุดที่ไม่ สามารถใช้โครงการนิวเคลียร์ในการพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูง เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของอิหร่าน โดยท้ายที่สุดแล้ว หากการเจรจาลุล่วงจะทำให้อิหร่านสามารถเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบมาในตลาดโลก ได้มากขึ้น ทั้งนี้ การคว่ำบาตรส่งผลให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้เพียง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่เคยส่งออกน้ำมันดิบที่ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2555
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่าง ฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ ในช่วงฤดูร้อน (มิ.ย. – ส.ค.)
จับตาการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซ หลังจากรัฐบาลกรีซยังไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้งวดล่าสุดให้แก่ IMF ราว 1.6 พันล้านยูโร ก่อนเส้นตายวันที่ 30 มิ.ย. นี้ได้ โดยล่าสุดกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยังคงไม่สามารถตกลงกันได้สำหรับแผนปฎิรูป ของกรีซเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ 7.2 พันล้านยูโร ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นที่กรีซจะผิดนัดชาระหนี้กว่า 1.6 พันล้านยูโรในสิ้นเดือนนี้ ทั้งนี้ สถานการณ์ปัญหาหนี้สินของกรีซที่ยังไม่คลี่คลายส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์ สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร ซึ่งยังกดดันราคาน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวเหนือระดับ 60-65 เหรียญสหรัฐฯ อาจเพิ่มความจูงใจให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ บริษัทขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งได้ชะลอการขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบลง จากภาวะราคาน้ำมันดิบตกต่ำ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 แต่แท่นขุดเจาะในบริเวณแหล่ง Permian และ Bakken ซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ของ Shale Oil ปรับเพิ่มขึ้นแหล่งละ 1 แท่น
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพุธ จีดีพีไตรมาส 1/58 สหรัฐฯ
วันพฤหัส จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 19 มิ.ย.
วันศุกร์ ดัชนีความอ่อนไหวของประชากรสหรัฐฯ - พ.ค.
วันอังคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - มิ.ย.
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - มิ.ย.
วันพุธ ดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS PMI) - มิ.ย.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - มิ.ย.
วันพฤหัส ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - พ.ค.
รายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ - มิ.ย.
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - มิ.ย.
วันศุกร์ ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ - มิ.ย.
ข่าวเด่น