+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ขยับขึ้นเล็กน้อยก่อนถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ หลังการเจรจาหนี้กรีซแม้จะยังตกลงกันไม่ได้แต่มีแนวโน้มที่หลายฝ่ายพยายาม เจรจากันต่อเนื่อง โดยนาย ยานิส วารูฟากิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกรีซมองว่า ไม่มีความจำเป็นใดที่รัฐบาลกรีซจะหลีกเลี่ยงการเจรจา เพราะต่างก็พยายามหาข้อสรุปเพื่อป้องกันไม่ให้กรีซต้องผิดนัดชำระหนี้
- อย่างไรก็ตาม ล่าสุดในช่วงสุดสัปดาห์ การประชุมกลุ่มรัฐมนตรีการคลังของยูโรโซนต้องยุติลงหลังกรีซตัดสินใจจัดทำ ประชามติเพื่อขอความเห็นจากประชาชนในการรับเงื่อนไขจากกลุ่มเจ้าหนี้ นอกจากนี้กลุ่มเจ้าหนี้ยังปฏิเสธที่จะยืดเวลาของการชำระหนี้ออกไปจากวันที่ 30 มิ.ย. นี้ เพื่อจะรอผลของการลงประชามติที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ก.ค. นี้ ส่งผลให้กรีซมีโอกาสต้องผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงอาจต้องออกจากยูโรโซนด้วย
+ ขณะที่การเจรจาสำคัญเพื่อหาข้อสรุปเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่มี กำหนดเส้นตายในวันที่ 30 มิ.ย. นี้เช่นกัน ก็ยังไม่มีท่าทีจะหาข้อตกลงร่วมกันได้ แม้ที่ประชุมจะมีความเห็นตรงกันในประเด็นย่อยต่างๆ แต่ประเด็นหลักยังคงมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่มาก ส่งผลให้ความเป็นไปได้ที่ชาติตะวันตกจะยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่านอาจเป็นไป ได้ยากขึ้น และความหวังของอิหร่านที่จะกลับมาส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นจากระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปัจจุบันอาจยังดูเลือนลาง
- ด้านราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสได้รับแรงกดดันจากตัวเลขหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบ ของอเมริกาเหนือที่ปรับลดลงเพียง 3 หลุม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหลายฝ่ายมองว่าหลุมขุดเจาะที่ระดับปัจจุบันถือว่าเป็นระดับต่ำสุดแล้ว และมองว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเหนือระดับ 60 เหรียญสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ผลิตบางรายกลับมาผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอีกครั้งซึ่งอาจส่งผลให้ อุปทานน้ำมันส่วนเกินจากสหรัฐฯ กดดันราคาน้ำมันให้ปรับลดลงอีกครั้ง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยราคาได้รับแรงหนุนจากตัวเลขคาดการณ์การนำเข้าน้ำมันเบนซินของอินโดนีเซีย เดือน ก.ค. ที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงราว 11 -12 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ดี ราคายังคงได้แรงกดดันจากราคาน้ำมันเบนซินในตลาดสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ อย่างไรก็ตาม ราคายังคงได้รับแรงกดดันจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในช่วงหน้าร้อนของ ตะวันออกกลางที่เบาบางลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับค่าขนส่งทางเรือที่สูงขึ้นส่งผลให้การส่งออกจากเอเชียไปยังยุโรป เป็นไปได้ยากขึ้นเพราะเสียเปรียบการส่งออกจากทางตะวันออกกลางที่มีอุปทาน น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นใหม่ในภูมิภาคทั้งยังอยู่ใกล้กว่าด้วย
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
การเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจ (P5+1) ที่จะถึงเส้นตายในวันที่ 30 มิ.ย. 58 นี้ จะออกมาในทิศทางใด ซึ่งหากชาติมหาอำนาจทั้ง 5 ยอมผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของอิหร่าน อาจทำให้อิหร่านสามารถเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบได้มากขึ้น โดยปัจจุบันอิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้เพียง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่เคยส่งออกที่ระดับ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2555
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่าง ฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ ในช่วงฤดูร้อน (มิ.ย. – ส.ค.)
กรีซจะสามารถจ่ายหนี้งวดล่าสุดให้แก่ IMF ราว 1.6 พันล้านยูโร ได้ทันกำหนดเส้นตายในวันที่ 30 มิ.ย. นี้ได้หรือไม่ หลังยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ระหว่างรัฐบาลกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ใน เรื่องแผนปฎิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งหากกรีซจ่ายหนี้ไม่ทันกำหนด อาจส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินเรื้อรังที่ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร ซึ่งจะส่งผลกดดันราคาน้ำมันดิบด้วย
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ ดัชนีความอ่อนไหวของประชากรสหรัฐฯ - พ.ค.
วันอังคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - มิ.ย.
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - มิ.ย.
วันพุธ ดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS PMI) - มิ.ย.
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - มิ.ย.
วันพฤหัส ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - พ.ค.
รายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ - มิ.ย.
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - มิ.ย.
วันศุกร์ ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ - มิ.ย.
ข่าวเด่น