- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงอย่างต่อเนื่องหลังสำนักงานสารสนเทศด้าน พลังงานของสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังปรับเพิ่มขึ้นราว 384,000 บาร์เรล แตะระดับ 465.8 ล้านบาร์เรลสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 700,000 บาร์เรล และสวนทางกับรายงานของสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับลดราว 958,000 บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมาปรับเพิ่มขึ้น 299,000 บาร์เรล
- นอกจากนี้การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบยังคงเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับ ภาระหนี้สินของกรีซหลังไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา และตลาดหุ้นที่ซบเซาลงของจีน อันส่งผลเสียต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้เชื้อเพลิง ตลาดหุ้นจีนในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นค่อนข้างอยู่ในสภาพวิกฤต ส่งผลให้สภาพความคล่องตัวในตลาดหุ้นจีนนั้นหมดไป หลังผู้เล่นในตลาดเกิดความตื่นตระหนกและเทขายหุ้นต่างๆ รวมถึงหุ้นชั้นดี (Blue Chip Stock) เพื่อปลดล็อกตนเองจากความเสี่ยงที่จะขาดทุนหากตลาดหุ้นล้ม ปัจจุบันมูลค่าในตลาดหุ้นจีนหดตัวลงมากกว่าร้อยละ 30 นับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนหลายรายมองว่าเศรษฐกิจโลกที่จะพังลงจากจีนนั้นร้ายแรงมากกว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในกรีซ
+ สำนักงานข่าว ISNA ของอิหร่าน รายงานว่าอิหร่านกำลังจะเสนอรายงานว่าด้วยวิธีแก้ปัญหาที่ยังคงอยู่ในขอบ ข่ายที่ไม่เกินข้อจำกัดของตนเพื่อจะบรรลุข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับ โครงการนิวเคลียร์กับหกประเทศมหาอำนาจ หลังการเจรจาหาข้อยุติถูกยืดออกไปเป็นภายในวันที่ 10 ก.ค. ประเด็นสำคัญภายในรายงานประกอบไปด้วยเรื่อง การยกเลิกการกักกันเรือสินค้าและขีปนาวุธจากยูเอ็น การเร่งรัดเพื่อยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอย่างเร่งด่วนและการวิจัยและพัฒนา นิวเคลียร์ขั้นสูง อย่างไรก็ดี ทางประเทศมหาอำนาจทั้งหกยังคงไม่ได้รับรายงานฉบับนี้จากอิหร่าน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์น้ำมันเบนซินที่ยังคงสูง ส่วนอุปทานภายในภูมิภาคค่อนข้างสมดุลกับอุปสงค์ในปัจจุบันหลังโรงกลั่น น้ำมันในไต้หวันปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าน้ำมันราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงหลังโรงกลั่นในเอเชียเหนือและเอเชีย ตะวันออกส่งออกมากขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ภายในภูมิภาคที่ยังคงซบเซา
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
การแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซ หลังจากรัฐบาลกรีซผิดนัดชำระหนี้งวดล่าสุดให้แก่ IMF ราว 1.6 พันล้านยูโร ในวันที่ 30 มิ.ย. ส่งผลให้กรีซกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วประเทศแรกที่ผิดนัดการชำระหนี้ โดยล่าสุด กลุ่มเจ้าหนี้เลื่อนเส้นตายการเจรจาออกไปเป็นวันอาทิตย์ที่ 12 ก.ค. นี้แทนการประกาศไม่ต่ออายุข้อตกลงช่วยเหลือกรีซออกไปจากวันที่ 30 มิ.ย.
ราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวเหนือระดับ 60 เหรียญสหรัฐฯ อาจเพิ่มความจูงใจให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ บริษัทขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งได้ชะลอการขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบลง จากภาวะราคาน้ำมันดิบตกต่ำ
อิหร่านและชาติมหาอำนาจตกลงที่จะยืดเวลาการเจรจาเพื่อหาข้อยุติโครงการ นิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรให้ได้ข้อสรุปภาย ในวันที่ 10 ก.ค. โดยตลาดคาดการณ์ว่าหากชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน จะส่งผลให้อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบได้มากขึ้นอีกราว 2- 5 แสนบาร์เรล ต่อวัน ภายใน 6-12 เดือน หลังจากการยกเลิกมาตรการคว่ำมาตร
ทิศทางเศรษฐกิจจีนที่กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) จะมีการประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ โดยล่าสุด PBOC ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปี และประกาศลดสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ - มิ.ย.
วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI)
ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ (ISM NON-PMI)
วันพฤหัสบดี ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - มิ.ย.
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - มิ.ย.
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
ข่าวเด่น