- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 3 ท่ามกลางความกังวลต่อการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากอิหร่านและกลุ่มชาติมหาอำนาจทั้งหก (P5+1) บรรลุข้อตกลงข้อตกลงเรื่องการจำกัดศักยภาพโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านในวัน อังคารที่ผ่านมา ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อสภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด โดยนักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs คาดการณ์ว่าอิหร่านจะสามารถผลิตน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นอีกราว 2 - 4 แสนบาร์เรลภายในปี 2559 นอกเหนือจากน้ำมันดิบที่ถูกเก็บไว้ในเรือบรรทุกน้ำมัน (Floating storage) ของอิหร่านราว 20 - 40 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอิหร่านจะเพิ่มอัตราการผลิตมากขึ้นราว 3 - 7 แสนบาร์เรล ภายในปี 2559
- นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ ว่า Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยมองว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับปานกลาง และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวในที่ร้อยละ 1.8 – 2.0 โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังดำเนินไปด้วยดี โดย Fed อาจพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. นี้ หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ย (Federal Funds Rate) ที่ระดับต่ำใกล้ศูนย์มาตั้งแต่ปี 2551 นอกจากนี้ Fed แสดงความเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2 ต่อปีตามที่ตั้งเป้าไว้ด้วย
-/+ สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) รายงานว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จีนขยายตัว ที่ร้อยละ7.0 ในไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่อ่อนแอที่สุดของจีนนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7.0 ยังคงเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลกลางจีนที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 7 สำหรับปีนี้ นอกจากนี้ NBS รายงานยอดค้าปลีกจีนปรับตัวขึ้นร้อยละ10.6 จากปีก่อนหน้า ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงายตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 10 ก.ค. โดยน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลงราว 4.3 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า สู่ระดับ 461.42 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้น 4.38 แสนบาร์เรล สู่ระดับ 6.78 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ อย่างไรก็ดี ตลาดได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในช่วงที่ใกล้สิ้นสุดฤดูถือศีลอด ของชาวมุสลิม ประกอบกับตลาดน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ที่เริ่มอ่อนตัวลงนอกจากนี้ ยังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกของเกาหลีที่เพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นในประเทศเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำไตรมาส 2
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์จากออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นจากการปิดตัวของ โรงกลั่นในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ในภูมิภาคและอุปสงค์จากประเทศในตะวันออกกลาง ที่อ่อนตัวลง ประกอบกับการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนที่เพิ่มขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
การแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้กรีซจะเป็นอย่างไรต่อไป หลังสิ้นสุดเส้นตายเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยล่าสุดผู้นำกลุ่มยูโรโซนบางประเทศมองว่าแผนใหม่ของกรีซนี้มีความจริงจัง มากขึ้น ขณะที่กรีซเองก็มีความหวังมากขึ้นว่าแผนปฏิรูปการคลังฉบับใหม่อาจนำไปสู่ การได้มาซึ่งวงเงินกู้งวดใหม่จากกลไกรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Stability Mechanism – ESM) ที่อาจพิจารณาปล่อยกู้ในวงเงิน 58,000 ล้านยูโร และวงเงินกู้อีกราว 16,000 ล้านยูโร จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ตัวเลขหลุมขุดเจาะที่อาจปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังราคาน้ำมันดิบที่ฟื้น ตัวเหนือระดับ 60 เหรียญสหรัฐฯ อาจเพิ่มความจูงใจให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ บริษัทขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งได้ชะลอการขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบลง
ตลาดหุ้นจีนที่ยังคงเปราะบางส่งผลให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยรวมของจีน อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางจีน (PBOC) คาดว่าจะพยายามหามาตรการในการหนุนให้เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างมี เสถียรภาพและคาดว่าจะยังไม่ส่งผลโดยตรงต่อตลาดน้ำมันในระยะสั้นนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ ดุลการค้าจีน (MoM) - มิ.ย.
วันอังคาร ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน (MoM) - พ.ค.
ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ (MoM) - มิ.ย.
วันพุธ ยอดค้าปลีกจีน (YoY) - มิ.ย.
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน (YoY) - มิ.ย.
จีดีพีจีน (ไตรมาส 2/58)
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (MoM) - มิ.ย.
ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (YoY) - มิ.ย.
วันพฤหัสบดี ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - มิ.ย.
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ (MoM) - มิ.ย.
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (YoY) - มิ.ย.
ข่าวเด่น