+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเดือน ส.ค. 58 ปรับเพิ่มขึ้น หลังมีการรายงานว่าแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Buzzard ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Forties ที่ใหญ่ที่สุดในเขตทะเลเหนือ กำลังการผลิตราว 170,000-180,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดการผลิต เนื่องจากเหตุขัดข้องทางระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวประมาณ 1-2 วัน
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรอบที่จำกัด ขณะราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลง หลังมีการคาดการณ์ว่าอิหร่านมีแผนส่งออกน้ำมันดิบราว 2 ล้านบาร์เรล ไปยังประเทศสิงคโปร์ ภายในสัปดาห์นี้ โดยการส่งออกดังกล่าวนับเป็นการส่งออกน้ำมันดิบครั้งแรกหลังจากอิหร่านและ กลุ่มชาติมหาอำนาจทั้งหก (P5+1) ได้บรรลุข้อตกลงข้อตกลงเรื่องการจำกัดศักยภาพโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านใน วันอังคารที่ผ่านมา อีกทั้งยังถือเป็นจุดเริ่มต้นในการระบายปริมาณน้ำมันดิบที่ถูกเก็บไว้ในเรือ บรรทุกน้ำมัน (Floating storage) ประมาณ 40-50 ล้านบาร์เรล หรือ เทียบเท่ากับปริมาณการส่งออกราว 1 เดือน ออกสู่ตลาด
- นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้น 4.9 แสนบาร์เรล สู่ระดับ 6.8 ล้านบาร์เรล โดยมีสาเหตุหลักเนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 0.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 6.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงการณ์หลังการประชุมนโยบายการเงินของ ECB ว่าจะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการผ่านคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตรมูลค่า 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือน ก.ย. 2558 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวดำเนินมาแล้วกว่า 5 เดือน โดยมีเป้าหมายหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจของประเทศยูโรโซน และทำให้อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนไปสู่เป้าหมายที่ใกล้ระดับ 2% นอกจากนั้น ECB ได้มติเพิ่มวงเงินกู้ฉุกเฉิน (ELA) ให้แก่ธนาคารกรีซอีกจำนวน 900 ล้านยูโร รวมเป็นจำนวนเกือบ 9 หมื่นล้านยูโร ตามคำร้องขอของธนาคารกลางกรีซ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการเพิ่มวงเงินฉุกเฉินในดังกล่าวจะช่วยให้ธนาคารของกรีซกลับมา เปิดดำเนินการใหม่อีกครั้ง หลังมีการประกาศปิดตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา
+ ดัชนีความเชื่อมั่นตลาดบ้านสหรัฐฯ ประจำเดือน ก.ค. 58 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60 จุด สอดคล้องกับที่คาดการณ์และนเป็นการปรับตัวสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 48 ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวนับสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า อุปสงค์ในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังเทศกาลถือศีลอดของ ชาวมุสลิมมีกำหนดการณ์สิ้นสุดในวันนี้ (17 ก.ค. 58) ส่งผลให้ตลาดคงความตึงตัวลงบางส่วน อย่างไรก็ตาม สภาวะตลาดโดยรวมยังถูกกดดันปริมาณอุปทานที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการ ส่งออกของประเทศจีน ประมาณ 2 แสนบาร์เรล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงกดดันของปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย และจีน ประกอบกับประเทศในภูมิภาคเอเซียไม่สามารถทำการส่งออกไปยังภูมิภาคยุโรปได้ เนื่องจากอัตราค่าขนส่งที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากภาวะอุปสงค์ในภูมิภาค ที่ซบเซา
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
อิหร่านและกลุ่มชาติมหาอำนาจทั้งหก (P5+1) สามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์หลังจากยืดเยื้อมานานกว่า 13 ปี ได้สำเร็จ ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลต่อการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านที่มีแนวโน้มจะ เพิ่มมากขึ้นและอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อสภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด ทั้งนี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอิหร่านจะเพิ่มอัตราการผลิตมากขึ้น ราว 3 - 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2559 นอกเหนือจากน้ำมันดิบที่ถูกเก็บไว้ในเรือบรรทุกน้ำมัน (Floating storage) ของอิหร่านอีกราว 40 ล้านบาร์เรล
จับตาการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ของกรีซ โดยล่าสุดรัฐสภากรีซได้มีมติอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่นี้จะทำให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการ เงินรอบที่ 3 ประมาณ 8.6 หมื่นล้านยูโรจากกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งจะช่วยให้กรีซรอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้และไม่ต้องออกจากการเป็นสมาชิก ยูโรโซน
จับตาธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้หรือไม่ หลังล่าสุด ประธาน FED กล่าวชัดว่า FED มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 1.8 – 2.0 ต่อปี ทั้งนี้ หาก FED ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวลดลงได้
ติดตามทิศทางเศรษฐกิจของจีน หลังมูลค่าในตลาดหุ้นจีนหดตัวลงมากกว่าร้อยละ 30 นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ประกอบกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง โดย GDP ในไตรมาสสองของปีนี้ขยายตัวเท่ากับอัตราร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปีและถือเป็นอัตราการขยายตัวที่อ่อนแอที่สุดของจีนนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสบดี ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (YoY) - มิ.ย.
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ (MoM) - มิ.ย.
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (YoY) - มิ.ย.
วันพุธ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ - ก.ค.
ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ - ก.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตจีน HSBC - ก.ค.
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - ก.ค.
ดัชนีภาคบริการยูโรโซน - ก.ค.
ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - มิ.ย.
ข่าวเด่น