+ ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวเล็กน้อยในวันอังคารที่ผ่านมาหลังราคาน้ำมันดิบ เวสต์เท็กซัส ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเดือน ส.ค. 58 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ระดับที่มากกว่า 50เหรียญสหรัฐฯ หลังจากก่อนหน้านี้ปิดลบมา 4 วันต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพตลาดปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากดัชนีค่าเงินยูโรได้ปรับตัวดีขึ้นหลังค่าเงินตกต่ำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยดัชนีค่าเงินยูโรได้รับแรงสนับสนุนจากสถาณการณ์กรีซที่เริ่มมีแนวโน้มดี ขึ้น
+ ทั้งนี้จากผลสำรวจความคิดเห็นของเหล่านักวิเคราะห์ที่จัดทำโดยบลูมเบิร์ก คาดการณ์ว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 กรกฎาคม น่าจะลดลงราว 2 ล้านบาร์เรล กระตุ้นให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ในวันอังคารที่ผ่านมา
- อย่างไรก็ดี สถาบันปิโตรเลียมสหรัฐฯ หรือ API ได้ประกาศตัวเลขน้ำมันคงคลังสำรองของสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า ระดับน้ำมันดิบคงคลังสำรองของสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นงราว 2.3 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าระดับน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะลดลงมากถึง 2.3 ล้านบาร์เรล โดยข้อมูลระดับน้ำมันดิบคงคลังสำรองของสหรัฐฯ จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ หรือ EIA จะประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการในวันนี้
- รวมทั้ง การที่อิหร่านสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการจำกัดศักยภาพนิวเคลียร์กับชาติมหา อำนาจต่างๆ (P5+1) ในวันอังคารของสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วนั้น ทำใตลาดยังคงจับตาปริมาณน้ำมับดิบที่จะออกสู่ตลาดในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่าการเพิ่มกาลังการผลิตของอิหร่านจะใช้ระยะเวลานานพอสมควร เนื่องจากการลงทุนด้านอุตสาหกรรมน้ำมันที่ลดลงในช่วงที่ถูกคว่ำบาตร การเข้าตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ทบวงพลังงานสากล (IAEA) ว่าอิหร่านได้ปฎิบัติตามข้อตกลง รวมทั้งขั้นตอนต่างๆในการยกเลิกมาตรการคว่าบาตร
- นอกจากนี้ ภาพเศรษฐกิจยังคงไม่สู้ดีนัก หลังดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,919.29 จุด ร่วงลง 181.12 จุด โดยตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากตลาดปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดูไบ เนื่องจากอุปสงค์จากอินโดนีเซียและตะวันออกกลางเริ่มปรับตัวลดลง หลังจากสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอด อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากอินเดียที่ค่อนข้างมากน่าจะยังคงสนับสนุนราคาน้ำมันเบนซินไม่ให้ ต่ำลงไปมากนัก
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ค่อนข้างมากในตลาด และการส่งออกที่มากขึ้นของจีนเนื่องจากความต้องการในประเทศลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจจีนที่ยังคงซบเซา รวมไปถึงอุปสงค์จากทางประเทศอื่นๆ ในเอเชียค่อนข้างเงียบเช่นเดียวกัน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
อิหร่านและกลุ่มชาติมหาอำนาจทั้งหก (P5+1) สามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์หลังจากยืดเยื้อมานานกว่า 13 ปี ได้สำเร็จ ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลต่อการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านที่มีแนวโน้มจะ เพิ่มมากขึ้นและอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อสภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด ทั้งนี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอิหร่านจะเพิ่มอัตราการผลิตมากขึ้น ราว 3 - 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2559 นอกเหนือจากน้ำมันดิบที่ถูกเก็บไว้ในเรือบรรทุกน้ำมัน (Floating storage) ของอิหร่านอีกราว 40 ล้านบาร์เรล
จับตาการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ของกรีซ โดยล่าสุดรัฐสภากรีซได้มีมติอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่นี้จะทำให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการ เงินรอบที่ 3 ประมาณ 8.6 หมื่นล้านยูโรจากกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งจะช่วยให้กรีซรอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้และไม่ต้องออกจากการเป็นสมาชิก ยูโรโซน
จับตาธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้หรือไม่ หลังล่าสุด ประธาน FED กล่าวชัดว่า FED มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 1.8 – 2.0 ต่อปี ทั้งนี้ หาก FED ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวลดลงได้
ติดตามทิศทางเศรษฐกิจของจีน หลังมูลค่าในตลาดหุ้นจีนหดตัวลงมากกว่าร้อยละ 30 นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ประกอบกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง โดย GDP ในไตรมาสสองของปีนี้ขยายตัวเท่ากับอัตราร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปีและถือเป็นอัตราการขยายตัวที่อ่อนแอที่สุดของจีนนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (YoY) - มิ.ย.
วันพุธ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ - ก.ค.
ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ - ก.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน
วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตจีน HSBC - ก.ค.
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - ก.ค.
ดัชนีภาคบริการยูโรโซน - ก.ค.
ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - มิ.ย.
ข่าวเด่น