- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ยังเคลื่อนไหวอยู่ใกล้เคียงกับระดับต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวขึ้นกว่า 1% จากการที่นักลงทุนคาดว่าน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่จะรายงานในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับลดลง โดยราคาได้รับแรงกดดันจากความกังวลอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดซึ่งในปัจจุบันมี อุปทานส่วนเกินอยู่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการที่เศรษฐกิจจีนมี แนวโน้มที่จะชะลอตัว หลังตลาดหุ้นจีนดิ่งตัวลดลงอย่างรุนแรงอีกครั้งแม้ว่ารัฐบาลจีนจะมีมาตรการ ต่างๆ เพื่อช่วงพยุงการดิ่งตัวของตลาดหุ้นจีนไปแล้วก่อนหน้านี้ก็ตาม ทั้งนี้ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีการบริโภคน้ำมันสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลให้ความต้อง การใช้น้ำมันปรับตัวลดลงและกดดันราคาน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง
- นักวิเคราะห์ทางเทคนิคเผยว่ามีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสจะปรับตัว ลดลงกว่า 15 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ไปแตะระดับต่ำที่สุดที่ 42 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯเท่ากับในเดือน มี.ค. ได้อีกครั้ง หรืออาจจะลดลงไปแตะที่ระดับ 30 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับช่วง ธ.ค. ปี 51 หากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าและดีดตัวขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 100 ซึ่งระดับดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าจุดต่ำสุดในช่วงวิกฤติการทางการเงินปี 50 - 52 จากความกังวลที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด
+/- สหรัฐฯ เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นสำหรับภาคบริการของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.2 ในเดือนก.ค. จากระดับ 54.8 ในเดือน มิ.ย. โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 55.0 โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวในการจ้างงานและธุรกิจใหม่ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้หากตัวเลขดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ อย่างไรก็ดี ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงใน ก.ค. สู่ระดับ 90.9 หลังได้ดีดตัวขึ้นไปแตะระดับ 99.8 ในเดือน มิ.ย.
+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับลดลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล มา อยู่ที่ระดับ 462 ล้านบาร์เรล มากกกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงที่ 184,000 บาร์เรล ขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ก็ปรับลดลงเช่นกัน โดยลดลง 381,000 บาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในการขนส่งของภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้ม ที่จะลดลงในไตรมาสที่ 3 หลังเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุม นอกจากนี้ อินโดนีเซียผู้บริโภคหลักของน้ำมันเบนซินก็มีอุปสงค์ที่ลดลงโดยมีตัวเลขการ นำเข้าในเดือน ส.ค. ที่ลดลงจากเดือน ก.ค. หลังผ่านพ้นฤดูถือศีลอดของชาวมุสลิม อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังคงได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการที่โรงกลั่นในสหรัฐฯ และเอเชียเหนือมีการปิดซ่อมบำรุงประจำปี
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคยังคงล้นตลาด โดยล่าสุดปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงค์โปรปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูง สุดในรอบ 4 ปี นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการที่ประเทศจีนมีการส่งออก น้ำมันดีเซลอยู่อย่างต่อเนื่องหลังความต้องการใช้ในประเทศลดลง ประกอบกับการที่ค่าขนส่งทางเรือปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการส่งออกน้ำมัน ดีเซลจากภูมิภาคเอเชียไปยังทวีปยุโรปได้น้อยลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในวันที่ 28 – 29 ก.ค. ว่าจะมีมุมมองอย่างไรต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คงอยู่ในระดับต่ำ ใกล้ศูนย์มาตั้งแต่ปี 2551 โดยจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์โดยส่วนใหญ่พบว่า FED มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือน ก.ย. โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้นและส่งผลกดดันราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสที่ปรับลดลงมาต่ำกว่าระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน เม.ย. ส่งผลให้บริษัทขุดเจาะและผลิตน้ำมันมีแนวโน้มจะชะลอการขุดเจาะอีกครั้ง แม้ในช่วงที่ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับ 55 – 60 เหรียญสหรัฐฯ ที่ผ่านมา จะทำให้ผู้ผลิตมีการเพิ่มจำนวนแท่นขุดเจาะขึ้น แต่คาดการณ์ของ Baker Hughes มองว่าในครึ่งปีหลังนี้แท่นขุดเจาะน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับลดลงโดยเฉพาะ แหล่งบนบกและแหล่งในน้ำตื้น
ความคืบหน้าการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน หลังสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ให้การรับรองข้อตกลงดังกล่าว แต่ข้อตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน ขณะที่สหภาพยุโรปแม้จะมีมติเห็นชอบข้อตกลงดังกล่าวเช่นกัน แต่จะยังคงไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจนกว่าจะเห็นความคืบหน้าจากรายงานของ IAEA ในวันที่ 15 ธ.ค. ก่อน ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ที่มีกรอบระยะเวลา 60 วันในการพิจารณา อย่างไรก็ดี ในระยะ1-2 เดือนนี้ อิหร่านอาจจะยังคงไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้เพิ่มมากขึ้นมากนัก
การเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากกลุ่ม ประเทศยูโรโซนมูลค่า 8.6 หมื่นล้านยูโร ยังคงดำเนินต่อไป แม้รัฐสภากรีซได้มีมติอนุมัติร่างกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจฉบับที่ 2 แล้วเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่กรีซยังจำเป็นต้องเจรจากับเจ้าหนี้เพิ่มเติมให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 22 ส.ค. 58 ซึ่งถืเป็นกำหนดชำระหนี้อีกมูลค่าราว 3.2 พันล้านยูโร
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - มิ.ย.
วันอังคาร ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - ก.ค.
ความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.ค.
วันพุธ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ - ก.ค.
วันพฤหัสบดี จีดีพี Q2/15 สหรัฐฯ (YoY)
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
ข่าวเด่น