กรมการขนส่งทางบก แจง การแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับรถแท็กซี่ เป็นเพียงการปรับเพดานอัตราค่าโดยสารเฉพาะรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนนอกเขต กทม.(ต่างจังหวัด ) เท่านั้น ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีประกาศกระทรวงคมนาคม กำหนดอัตราที่ใช้จริงในแต่ละจังหวัด ส่วนรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในเขตกทม. ยังคงใช้เพดานอัตราค่าโดยสารเดิมซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อค่าโดยสารในขณะนี้แต่ อย่างใด นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มีการประกาศแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้าง บรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถแท็กซี่) นั้น เป็นเพียงการประกาศปรับเพดานอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนนอก เขตกรุงเทพมหานคร (ต่างจังหวัด) ซึ่งเดิม 2 กิโลเมตรแรกไม่เกิน 50 บาท เป็นไม่เกิน 100 บาท กิโลเมตรต่อไปจากเดิมกิโลเมตรละ 12 บาท เป็นกิโลเมตรละ 20 บาท กรณีรถติดเคลื่อนที่ไม่ได้ จากเดิมนาทีละไม่เกิน 3 บาท เป็นนาทีละไม่เกิน 5 บาท และหากเป็นการใช้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือเวลากลางคืนตามช่วงเวลาที่ กระทรวงคมนาคมกำหนด ให้คิดค่าจ้างเพิ่มได้ไม่เกิน 100 บาท ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในช่วงเวลาที่ขาดแคลนหรือไม่มีรถแท็กซี่จะมา ให้บริการ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ปรับเพดานอัตราการเรียกใช้บริการรถแท็กซี่จากท่า อากาศยานหรือสถานที่ที่กระทรวงคมนาคมกำหนด จากเดิม 100 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 150 บาท “ซึ่งการปรับเพดานอัตราค่าโดยสารทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ใช่อัตราที่จะใช้จัด เก็บจริง โดยอัตราที่จะใช้จัดเก็บจริงนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะพิจารณากำหนดไม่เกินจากเพดานที่กฎกระทรวง บัญญัติตามสภาพความเหมาะสมในแต่ละจังหวัด ก่อนออกประกาศกระทรวงคมนาคมและลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้จริง ต่อไป” นายจิรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ยังคงใช้เพดานอัตราค่าโดยสารเดิม จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อค่าโดยสารในปัจจุบัน ทั้งยังให้เรียกเก็บค่าบริการผ่านระบบสื่อสาร ในเพดานอัตราเดิมคือ สูงสุดไม่เกิน50 บาท ทั้งนี้ให้รวมถึงระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น การบริการผ่านแอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมต่างๆ “ซึ่งเพดานอัตราสูงสุดดังกล่าวยังไม่ใช่อัตราที่จะใช้จัดเก็บจริง ยังคงต้องรอประกาศจากกระทรวงคมนาคมใช้อัตราจริงที่ไม่เกินจากเพดานดังกล่าว นอกจากนี้กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้รถแท็กซี่ที่จดทะเบียนตั้งแต่วัน ที่ 26 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ให้สิ้นสุดอายุการใช้งานพร้อมกันในวันที่ 25 ธันวาคม 2560 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในช่วงเวลาดัง กล่าว พร้อมทั้งมีการยกเลิกการติดตั้งระบบใช้ก๊าซธรรมชาติ ( NGV) โดยให้ใช้เชื้อเพลิงใดก็ได้ อีกทั้งกำหนดให้รถแท็กซี่ต้องไม่ติดตั้งระบบป้องกันการเปิดประตูจากภายในรถ (Child lock) เพื่อเป็นการเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารในการใช้บริการรถ แท็กซี่ด้วย”
ข่าวเด่น