|
|
|
|
|
|
คำแนะนำ
หากไม่หลุด 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เสี่ยงซื้อ(ตัดขาดทุนหากหลุดลงมา) หรืออาจรอดูสถานการณ์ไปก่อน
ทองคำ
แนวรับ 1,100 1,090 1,080
แนวต้าน 1,110 1,117 1,122
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯวานนี้อ่อนตัวลง 3.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เคลื่อนไหวในกรอบที่แคบเช่นเดิม จากประเด็นเดิมคือการรอคอยการประชุมของเอฟโอเอมซีซึ่งกาลังจะเกิดขึ้นและรู้ผลในช่วงเช้ามืดวันศุกร์ตามเวลาในประเทศ โดยการคาดการณ์ยังคงมีทั้งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้และอีกฝั่งที่ต้องการให้ชะลอการปรับขึ้นไปก่อน เบื้องต้นจะเห็นได้ปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาไม่สามารถชี้นาราคาทองคำได้ ทาให้การประชุมดังกล่าวจาเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ประเด็นภายในประเทศยังมีการประชุมของ กนง. ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตาม สาหรับกองทุน SPDR นั้นถือครองทองคาเท่าเดิมมา 4 วันทาการต่อเนื่องแล้วเช่นกัน
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคำยังคงแกว่งตัวในกรอบที่แคบมาก เบื้องต้นยังคงกรอบในบริเวณ 1,100-1,117 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จนกว่าจะมีการทะลุไป อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง ดังนั้นหากหลุด 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต้องระวังแรงขายออกมา
กลยุทธ์การลงทุน
เก็งกาไรตามกรอบ แต่เนื่องจากราคาแกว่งตัวแคบ จึงอาจต้องชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ นอกจากนี้ค่าเงินบาทได้เริ่มชะลอการอ่อนค่าจึงอาจทาให้การลงทุนต้องพิจารณาความเสี่ยงในส่วนนี้
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(-)สหรัฐเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.ค. ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 6 เดือน ขณะที่ได้แรงหนุนจากคาสั่งซื้อรถยนต์ที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนส.ค. หากไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ามัน และอาหาร ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนส.ค. สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. ยอดค้าปลีกดังกล่าวบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และอาจเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้
(+)เฟดนิวยอร์กเผยดัชนีภาวะธุรกิจยังคงหดตัวในเดือนก.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือนก.ย. สู่ระดับ -14.7 จาก -14.9 ในเดือนส.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่ในแดนลบในเดือนก.ย.เป็นเดือนที่ 4 ในรอบ 6 เดือน หลังจากทรุดตัวในเดือนส.ค. แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009 ดัชนีย่อยส่วนใหญ่อยู่ในภาวะหดตัว นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะดีดตัวสู่ระดับ -2.0 ในเดือนก.ย. ดัชนีที่ต่ำกว่า 0 บ่งชี้ถึงภาวะหดตัว หากสูงกว่า 0 บ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจล่วงหน้าร่วงลงสู่ 23.2 จาก 33.2 ในเดือนส.ค.
(+)OECD เตรียมปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ขณะบางภูมิภาคชะลอตัว นายแองเจล กูร์เรีย เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า OECD เตรียมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยจะมีการปรับลดลงอย่างมากสาหรับบางภูมิภาค ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา OECD ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 3.1% จาก 3.7% ในการคาดการณ์เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ในวันที่ 10 ส.ค. OECD เปิดเผยดัชนีชี้นาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยระบุว่า ดัชนีสาหรับยูโรโซนอยู่ที่ 100.7 เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. ขณะที่สหรัฐร่วงลงสู่ 99.4 จาก 99.5 ในเดือนพ.ค. ดัชนีของอังกฤษอยู่ที่ 99.8 ในเดือนมิ.ย. หลังจากอยู่ที่ 99.9 ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนีของฝรั่งเศสปรับตัวขึ้นสู่ 100.8 จาก 100.7 และดัชนีของอิตาลีทรงตัวที่ 100.9 ขณะที่เยอรมนีทรงตัวที่ 100.0 ดัชนีของจีนยังคงอ่อนตัวลงแตะ 97.4 จาก 97.5 ส่วนบราซิลร่วงลงแตะ 98.8 จาก 99.0 ดัชนีมีค่าเฉลี่ยระยะยาวอยู่ที่ระดับ 100
(+/-)นักวิเคราะห์เตือนเฟดขึ้นดอกเบี้ยฉุดเงินทุนตลาดเกิดใหม่วูบ 45% นายคาร์ลอส อาร์เตตา นักวิเคราะห์ประจาธนาคารโลก ระบุในรายงานว่า การคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะทาให้เงินทุนที่จะไหลไปยังประเทศตลาดเกิดใหม่ลดลงอย่างมาก รายงานระบุว่า ถึงแม้มีการคาดการณ์กันว่าเฟดจะสามารถหันมาใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินได้อย่างราบรื่น แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะกระทบต่อการไหลของเงินทุน หากนักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง และทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวดีดตัวขึ้น การปรับตัวขึ้น 1% ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ, ยูโรโซน, อังกฤษ และญี่ปุ่นจะทาให้เงินทุนที่จะไหลไปยังประเทศตลาดเกิดใหม่ลดลงถึง 45% ภายใน 1 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกัน 2.2% เฟดจะประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 16-17 ก.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์ยังคงเสียงแตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
16 ก.ย. 2558 เวลา : 11:07:24
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น