ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังคาดน้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่งปรับลด และดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น


+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง  นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังได้รับแรงสนับสนุนจากตลาดหุ้นของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ
  

+ รอยเตอร์คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯจะปรับเพิ่ม 0.1 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับตัวลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.6 ล้านบาร์เรล มาที่ 457.8 ล้านบาร์เรล
  

+ ตลาดหุ้นดาวโจนส์และ S&P ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังได้รับแรงสนับสนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนก.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาที่ 103 จุด จาก 101.3 จุดในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของรอยเตอร์ที่ระดับ 96.1 จุด โดยดัชนีความเชื่อมั่นโภคในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อสำหรับอนาคตในระยะสั้นอยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม
  

+ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย Arkady Dvorkovich ให้ความเห็นว่าปริมาณการผลิตของรัสเซียอาจลดลงร้อยละ 5-10 หากราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป โดยได้คาดว่าราคาน้ำมันดิบน่าจะไม่ปรับตัวลดลงจากระดับปัจจุบันที่ประมาณ 48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมองว่าคงไม่มีผู้ผลิตใดที่จะผลิตน้ำมันดิบในระดับสูงหากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำนานกว่า 2 ปี

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้นหลังปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินจากไทยในเดือนส.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อน และช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นปริมาณการส่งออกที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 56 เนื่องจากโรงกลั่นต่างๆมีการผลิตหลังส่วงต่างกำไรน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับดี โดยปริมาณการส่งออกของญี่ปุ่นเดือนส.ค.ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ดี อุปทานในภูมิภาคมีแนวโน้มลดลงหลังโรงกลั่นในจีน จะปิดซ่อมบำรุงในเดือนพ.ย. เป็นระยะเวลานาน 1 เดือน
  

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากคาดว่าอุปทานน้ำมันดีเซลในตลาดจะอยู่ในระดับสูง หลังปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในสิงคโปร์อยู่ในระดับสูงสุดในรอบสี่ปี อย่างไรก็ดี ยังคงอุปสงค์แอฟริกาตะวันตก พม่าและเวียดนาม

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

  

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวที่กรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 46-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  

ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจจีน หลังดัชนีภาคการผลิต (Caixin PMI) ขั้นต้นในเดือน ก.ย. ปรับตัวลดลงจาก 47.3 ในเดือน ส.ค. แตะระดับ 47 ต่ำสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง ซึ่งตัวเลขที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนยังคงชะลอตัวจากดัชนีราคาและอุปสงค์ภายนอกประเทศที่อ่อนตัว โดยตลาดยังคงจับตาดัชนีภาคการผลิต (PMI) ขั้นสุดท้ายในประจำเดือน ก.ย.  ที่จะประกาศในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ทั้งนี้ ล่าสุดธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตของเขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชียมีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีนสร้างความเสียหายให้กับอุปสงค์โดยรวมในภูมิภาค นอกจากนี้  ADB คาดการณ์ว่าจีนที่เป็นกลไกหลักในการผลักดันอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ในปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 7.2 ในการคาดการณ์ครั้งก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบ 25 ปี เป็นต้นมา
  

ตลาดมองว่าการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่คงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0 - 0.25  ต่อไป เพิ่มความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางของนโยบาย โดยนักลงทุนบางส่วนได้ปรับการคาดการณ์เรื่องเวลาที่ Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปถึงปี 59 ถึงแม้ว่า Fed จะยังเน้นย้ำถึงความตั้งใจที่จะปรับขึ้นในปีนี้    
  

ผู้ผลิตน้ำมันดิบในกลุ่มโอเปกยังคงไม่มีทีท่าว่าจะลดปริมาณการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบ โดยยังคงผลิตน้ำมันดิบเหนือระดับ 31 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยล่าสุด ตัวแทนกลุ่มโอเปกจากคูเวตได้กล่าวในที่ประชุมที่สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตต์ว่ากลุ่มโอเปกยืนยันที่จะผลิตน้ำมันดิบในปริมาณที่สูงต่อเนื่องเพื่อจะรักษาฐานลูกค้าไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าสมาชิกในกลุ่มโอเปกอาจจะได้รับผลกระทบเรื่องราคาน้ำมันดิบตกต่ำก็ตาม
  

จับตาปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง โดยรายงานล่าสุดของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 18 ก.ย. ปรับลดลง 19,000 บาร์เรลลด สู่ระดับ 9.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากระดับสูงสุดในเดือน มิ.ย. 58 ที่ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ บางส่วนชะลอการผลิตและขุดเจาะน้ำมันดิบจากภาวะราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ นอกจากนี้ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง ซึ่งตลาดมองว่าการปรับลดลงนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน ก.ค.

 

 
                
               

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 ก.ย. 2558 เวลา : 11:24:57

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 2:27 am