- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดหลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ประกาศตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 2 ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นราว 3.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับลดลงราว 1.2 ล้านนบาร์เรล
- นอกจากนี้ EIA ยังรายงานถึงปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นถึง 1.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ถึง 4 เท่า ส่งผลกดดันราคาน้ำมันดิบ
- ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันอย่างต่อเนื่องจากภาวะอุปทานล้นตลาดและความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปของอิหร่านที่พร้อมจะเข้ามาสู่ตลาดในเร็ววันหลังการคว่ำบาตรยุติลง ประกอบกับการที่พายุเฮอร์ริเคนในสหรัฐฯ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ
+ อย่างไรก็ดี ในปี 2559 EIA มองว่าตลาดน้ำมันดิบจะตึงตัวมากขึ้นหลังคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มเติบโตมากสุดในรอบ 6 ปีที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 95.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับขึ้น 270,000 บาร์เรลต่อวัน จากการคาดการณ์ในเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับอุปทานที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 95.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน นาย Micheal Wittner นักวิเคราะห์จากบริษัท Societe Generate (New York) กล่าวถึงความสำเร็จทางกลยุธท์ของซาอุดิอาระเบียที่ไม่ยอมปรับลดกำลังการผลิตเพื่อให้ผู้ผลิตที่มีต้นทุนการผลิตสูงจำเป็นต้องหยุดดำเนินการ ส่งผลให้การผลิตน้ำมันดิบของประเทศนอกกลุ่มโอเปก (Non-opec) ไม่ได้ปรับเพิ่ม
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงหนุนของอุปสงค์จากตะวันออกกลาง และอุปทานที่ค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินอย่างกระทันหันของโรงกลั่นแห่งหนึ่งในไต้หวัน และการปิดซ่อมของโรงกลั่นในซาอุดิอาระเบียที่มีความล่าช้าไปอีกหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 11 ต.ค. นี้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการปิดซ่อมบำรุงอย่างกระทันหันของโรงกลั่นแห่งหนึ่งในไต้หวันและการปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลของโรงกลั่นภายในภูมิภาคเอเชี นอกจากนี้ อุปสงค์ในเอเชียยังคงทรงตัวอยู่ โดยมีแรงซื้อของประเทศเวียดนามช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับสูง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวที่กรอบ 45-51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 47-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาพายุ เฮอร์ริเคน โจควิน (Joaquin) ในมหาสมุทรแอตแลนติก ที่กำลังทวีความแรงจากพายุโซนร้อนเป็น เฮอร์ริเคนระดับ 3 ที่เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะบาฮามาสในมหาสมุทรแอตแลนติก และมีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐฯ รวมถึง New York Harbor ซึ่งเป็นจุดส่งมอบหลักของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในสหรัฐฯ ทั้งนี้ พายุดังกล่าวอาจส่งผลให้การผลิตน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่น 9 แห่งในฝั่งตะวันออก ซึ่งมีกำลังผลิตราว 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ได้รับผลกระทบไปด้วย
ภาพเศรษฐกิจจีนยังคงกดดันราคาต่อเนื่อง หลังดัชนีภาคการผลิตจีน (Caixin PMI) เดือน ก.ย. ที่ปรับลดลงต่อเนื่องมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง ขณะที่ตัวเลขภาคการผลิตจีนที่เน้นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (NBS PMI) เดือน ก.ย. ก็ยังคงอยู่ในภาวะหดตัว ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวจะทำให้ความต้องการใชน้ำมันลดลงตาม
จํานวนแท่นขุดเจาะนํ้ามันในสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงต่อเนื่องกว่า 5 สัปดาห์ติดต่อกันและมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยรายงานล่าสุด Baker Hughes รายงานจํานวนแท่นขุดเจาะนํ้ามันในสหรัฐฯ สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 2 ต.ค.58 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 614 หลุม ซึ่งถือว่าเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีส่งผลให้เห็นการปรับลดลงของกำลังผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ที่เริ่มลดลงสู่ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดการณ์ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อาจจะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน ต.ค. สำหรับการประชุมในเดือน ธ.ค. มีนักลงทุนเพียง 30% เท่านั้นที่เชื่อว่า FED จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นลดลง
ข่าวเด่น