- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับตัวลดลงอย่าต่อเนื่อง จากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันล้นตลาด โดยรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ในสัปดาห์ก่อน ประกาศปริมาณน้ำมันดิบคงคลังยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังการกลั่นของโรงกลั่นที่ลดลงและการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้เล่นตลาดยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่มากกว่าความต้องการ ประกอบกับปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ล้นตลาด ส่งผลกดดันตลาดน้ำมันดิบอีกด้วย
- ขณะที่สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ รายสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 23 ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 4.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 3.4 ล้าน ในขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลง 748,000 บาร์เรล นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดีเซลงคลังปรับลดลงกว่า 2.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงจับตารายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์ของสeนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) ที่จะเปิดเผยข้อมูลในวันนี้ว่าจะมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ API ระบุไว้หรือไม่
+ อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ปรับลดลงกำลังการผลิตน้ำมันดิบจาก 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อควบคุมปริมาณน้ำมันดิบไม่ให้มากเกินความต้องการของตลาดมากเกินไป และอาจช่วยสนับสนุนราคาน้ำมันให้ไม่ตกลงไปมากนัก
+/- ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนยังคงรอนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้งจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการประชุมวันที่ 27 – 28 ต.ค. Fed ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ รวมไปถึงการประชุมคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 5 (The Fifth Plenum) ในวันที่ 26 - 29 ต.ค. ซึ่งจะกำหนดแผนดำเนินนโยบายสำหรับปี 2016-2020 ว่าทิศทางเศรษฐกิจจะออกมาในทิศทางใด
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐปรับตัวลง 1.2% ในเดือนก.ย. โดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของสหรัฐ
ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานคาดว่าจะเข้ามาสู่เอเชียในปริมาณน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงอุปสงค์จากตะวันออกกลางยังคงสนับสนุนราคาน้ำมันเบนซินอยู่ อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงกังวลต่อปริมาณน้ำมันมากกว่าความต้องการ และอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากประเทศอินเดียและภูมิภาคยุโรป
ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลนภูมิภาคที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการส่งออกของประเทศจีน และประเทศเกาหลี อย่างไรก็ดีความต้องการน้ำมันที่เข้ามาจากเวียดนามและแอฟริกาช่วยทำให้ตลาดยังคงอยู่ในระดับทรงตัว
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวที่กรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 46-51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 27 – 28 ต.ค. ต่อท่าทีในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งกระแสการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed อาจส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง และหนุนราคาน้ำมันดิบในระยะสั้น
ทิศทางเศรษฐกิจจีนยังคงมีความไม่แน่นอน แม้รัฐบาลจีนประกาศปรับลดดอกเบี้ยครั้งใหม่เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่ภาพรวมเศรษฐกิจหลายด้านยังคงเปราะบาง ซึ่งหลายฝ่ายยังคงกังวลว่าการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงของ GDP จีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกจะยังคงส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันที่อาจชะลอตัวลงตาม
อุปทานน้ำมันดิบยังคงล้นตลาดต่อเนื่อง แม้ล่าสุดกลุ่มโอเปกและตัวแทนจากประเทศนอกกลุ่ม ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่ผ่านมาเพื่อหารือเรื่องภาวะราคาน้ำมันที่ตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแนวโน้มว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบจะมีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในการปรับลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมัน
อัตราการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องหรือไม่หลังตัวเลขหลุมขุดเจาะเริ่มคงตัว อย่างไรก็ดี สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ยังคงรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ (ณ วันที่ 16 ต.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดที่ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน มิ.ย. หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ บางส่วนชะลอการผลิตลง
ข่าวเด่น