คำแนะนำ เก็งกำไรตามกรอบราคา ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน
ทองคำ
แนวรับ 1,114 1,100 1,090
แนวต้าน 1,132 1,147 1,156
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯวานนี้ปรับตัวลง 16.14 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางการฟื้นตัวของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งใช้ดัชนีดอลลาร์เป็นตัวแทน โดยสถาการณ์ในปัจจุบันยังคงใช้ประเด็นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโนบายของสหรัฐฯ แม้ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากนักว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด แต่ตลาดได้คาดการณ์ไปแล้วว่าน่าจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม ทาให้ประเด็นนี้คอยกดดันราคาทองคาตลอดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นนักลงทุนจาเป็นต้องติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด ขณะที่ภายในประเทศ ในวันนี้จะมีการประชุมของ กนง. อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทซึ่งส่งผลโดยตรงต่อราคาทองคำในประเทศ
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคำยังคงอ่อนตัวลง 5 วันทำการต่อเนื่อง โดยทาจุดต่าสุดวานนี้ที่ 1,114 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งใช้เป็นแนวรับระยะสั้นในวันนี้ ขณะที่แนวต้านถูกยกลงมาที่บริเวณ 1,132 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน
การลงทุนอาจเน้นการเก็งกำไรในกรอบ โดยการเข้าซื้ออาจรอในบริเวณ 1,114 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุดลงมา) ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจพิจารณาบริเวณ 1,132 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(-)ดอลล์แข็งค่าตามบอนด์ยิลด์สหรัฐดอลลาร์ปรับตัวขึ้นในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและข้อมูลเศรษฐกิจที่สนับสนุนการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นปีนี้ ดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.6% สู่ 1.0945 ดอลลาร์เมื่อเทียบกับยูโรและปรับตัวขึ้น 0.3% สู่ 121.16 เยน ส่วนดัชนีดอลลาร์บวก 0.42% สู่ 97.330 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์จากการคาดการณ์ที่ว่า ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่จะเปิดเผยในวันศุกร์นี้แข็งแกร่งพอที่จะทาให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
(-)ISM เผยกิจกรรมภาคธุรกิจนิวยอร์กพุ่งสูงสุดรอบ 3 เดือนในต.ค.สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมภาคธุรกิจในนครนิวยอร์กดีดตัวขึ้นในเดือนต.ค. หลังจากร่วงแตะระดับต่าสุดในรอบ 6 ปีในเดือนก.ย.รายงานของ ISM ระบุว่า ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กพุ่งขึ้นสู่ระดับ 65.8 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. หลังจากร่วงแตะระดับ 44.5 ในเดือนก.ย. ขณะอยู่ที่ 51.1 ในเดือนส.ค.ค่าดัชนีที่ต่ากว่า 50 บ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของกิจกรรมภาคธุรกิจ ส่วนดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวอย่างไรก็ดี ดัชนีย่อยด้านการจ้างงานและคาสั่งซื้อยังคงอยู่ในภาวะหดตัวในเดือนต.ค.
(+)สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานร่วงลงเป็นเดือนที่2 ในก.ย.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนก.ย.ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 1.0% ในเดือนก.ย. หลังจากที่ดิ่งลง 2.1% ในเดือนส.ค.นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 0.9% ในเดือนก.ย.นักวิเคราะห์ระบุว่า การปรับตัวลงของยอดสั่งซื้อมีสาเหตุจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งได้กระทบการส่งออก ขณะที่การทรุดตัวของราคาน้ามันก็ได้ทาให้บริษัทพลังงานลดการลงทุนนอกจากนี้ การลดลงของยอดสั่งซื้อยังเกิดจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ รวมทั้งการที่ภาคธุรกิจพยายามลดสต็อกสินค้าคงคลัง แทนที่จะผลิตเพิ่มเติม
ข่าวเด่น