ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
วายแอลจี รายงานภาวะราคาทองคำ พร้อมแนะเสี่ยงซื้อในบริเวณ 1,079 และตัดขาดทุนหากหลุด 1,074 ดอลลาร์ต่อออนซ์


คำแนะนำ
   

เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,079(ตัดขาดทุนหากหลุด $1,074) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน

ทองคำ
   แนวรับ 1,079 1,074 1,060
   แนวต้าน 1,098 1,118 1,132

ปัจจัยพื้นฐาน
  

ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯวานนี้ปรับตัวลง 0.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เคลื่อนไหวในกรอบ 17 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคาชะลอการปรับตัวขึ้นหลังจากเผชิญแรงขายทากาไรในช่วงโซน 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากสถานการณ์ในฝรั่งเศสยังคงทรงตัวไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดยังคงมีความกังวลอยู่เบื้องหลังนั่นก็คือเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ดังนั้นหากไม่มีปัจจัยสาคัญที่สามารถชี้นาราคาทองคาให้ปรับตัวขึ้นได้ ตลาดทองคาจะเผชิญแรงขายทากาไรเพื่อรอคอยความชัดเจนในประเด็นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยจะมีการประชุมของเอฟโอเอมซีในช่วงกลางเดือนหน้า ขณะที่ค่าเงินบาทวานนี้ทาจุดสูงสุดเหนือ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะแข็งค่ากลับลงมาบ้างแต่แนวโน้มยังคงอ่อนค่า ส่งผลบวกต่อราคาทองคาในประเทศเช่นกัน

ปัจจัยเทคนิค
   

ราคาทองคาเผชิญแรงขายออกมาหลังจากไม่สามารถยืนเหนือ 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ เบื้องต้นหากไม่หลุดแนวรับในโซน 1,079-1,074 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีโอกาสดีดตัวกลับขึ้นไปได้อีก โดยยังคงโซน 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นแนวต้าน

กลยุทธ์การลงทุน
  

เสี่ยงเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,079-1,074 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,074 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจพิจารณาบริเวณ 1,098 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไป โดยอาจลดความเสี่ยงเมื่อราคายืนเหนือ 1,102 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

   

(-)ดอลล์แข็งค่าเทียบยูโรจากวิตกเหตุโจมตีกรุงปารีส ดอลลาร์พุ่งขึ้นอย่างมากในวันจันทร์ ขณะที่ตลาดวิตกกับการโจมตีกรุงปารีสในวันศุกร์ที่ผ่านมา และนักลงทุนยังคงคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า ทั้งนี้ ยูโรร่วงลงเกือบ1% สู่ 1.0678 ดอลลาร์ หลังร่วงลงสู่ระดับต่าสุดในรอบเกือบ 6 เดือนครึ่ง ส่วนดัชนีดอลลาร์บวก 0.45%สู่ 99.460 หลังฝ่าระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนซึ่งเข้าทดสอบหลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดในวันที่ 6 พ.ย.
   

(+)เฟดนิวยอร์คเผยดัชนีภาวะธุรกิจหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ในพ.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ครายงานวันนี้ว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) อยู่ในภาวะหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนพ.ย. โดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการขยายตัวที่อ่อนแอในต่างประเทศ ทั้งนี้ ดัชนีขยับขึ้นสู่ระดับ -10.7 จาก -11.4 ในเดือนต.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่ต่ากว่า 0 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวเป็นเดือนที่ 6 ในรอบ 8 เดือน หลังจากทรุดตัวในเดือนส.ค. แตะระดับต่าสุดนับตั้งแต่ปี 2009 ดัชนีย่อยด้านการจ้างงานร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีคาสั่งซื้อใหม่ปรับตัวลงเช่นกัน
    

(+)ราคาดีดตัวรับความตึงเครียดทางการเมืองอาจกระทบผลผลิต ราคาน้ามันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดปรับตัวขึ้นในวันจันทร์หลังจากร่วงลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่การโจมตีกรุงปารีสได้เพิ่มความตึงเครียดทางการเมืองในตะวันออกกลางซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ามันทั่วโลก ทั้งนี้ ราคาน้ามันดิบส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดบวก 1 ดอลลาร์ สู่ระดับ41.74ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ามันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ปิดบวก 0.9 ดอลลาร์ สู่ระดับ44.56ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
    

(+)คลังคาดเฟดไม่รีบขึ้นดบ.หวั่นซ้าเติมศก.ยุโรปธปท.เฝ้าระวังความผันผวนตลาดเงิน-ตลาดทุน นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อานวยการสานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในวันที่ 15-16 ธ.ค.นี้ คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยออกไปอีก หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้น แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อร้ายในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของยุโรปให้ซบเซา มากขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจจะเป็นการซ้าเติมให้เศรษฐกิจยุโรปและโลกมีปัญหามากกว่าเดิม "คลังคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจยุโรป และจะไปพิจารณาปรับดอกเบี้ยขึ้นในปีหน้า จากเดิมที่เคยคาดกันไว้ว่าน่าจะขึ้นดอกเบี้ยภายในปลายปีนี้" นายสุวิชญ กล่าว นายสุวิชญกล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย โดยทางกระทรวงการคลังได้เร่งทยอยกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลปีงบประมาณ 2559 ในไตรมาสแรก 2.5 แสนล้านบาท จากวงเงินทั้งหมด 3.9 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการทาตามแผน ถึงแม้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย หรือไม่ขึ้นก็ตาม ก็จะไม่กระทบกับต้นทุนการกู้เงินของกระทรวงการคลัง
                
                
                
               


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 17 พ.ย. 2558 เวลา : 11:20:10

24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 5:07 pm