คำแนะนำ
เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,062(ตัดขาดทุนหากหลุด $1,053) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน
ทองคำ
แนวรับ 1,062 1,053 1,040
แนวต้าน 1,074 1,085 1,105
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯวานนี้ปรับตัวขึ้น 5.09 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ชะลอการแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดยังคงอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ไม่สู้ดีนัก จากกระแสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ดังนั้นการปรับขึ้นของราคาทองคำยังต้องระมัดระวัง ขณะที่ตลาดยังรอการเปิดเผยตัวเลขในตลาดแรงงานสหรัฐฯ อีกทั้งในสัปดาห์นี้ประธานเฟดจะมีการแถลงการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงิน ทาให้ประเด็นเหล่านี้จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคาอย่างมีนัยสาคัญ นอกจากนี้ประเด็นเรื่องค่าเงินบาทยังส่งผลต่อราคาทองคาในประเทศ โดยค่าเงินบาทเริ่มชะลอการอ่อนค่า
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคำขยับขึ้น 2 วันทำการต่อเนื่อง แต่ยังไม่ถึงโซน 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เบื้องต้นประเมินแนวต้านระยะสั้นๆที่ 1,074 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวต้านสาคัญที่ 1,085 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,062 และ 1,053 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน
เก็งกำไรตามกรอบ โดยการเข้าซื้ออาจรอในบริเวณ 1,062 หรือ 1,053 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจต้องพิจารณาในบริเวณ 1,085 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(+)ข้อมูลศก.สหรัฐ,ยูโรโซนกดดอลล์ร่วง ดอลลาร์ร่วงลงในวันอังคาร ขณะที่การหดตัวของการจ้างงานในภาคการผลิตของสหรัฐและข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของยุโรปถ่วงดอลลาร์ลงจากระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนครึ่งเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสาคัญทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ร่วง 0.4% สู่ 99.78 โดยร่วงลงมากที่สุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์หลังอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีเมื่อวันจันทร์ ข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการว่างงานในเยอรมนีอยู่ที่ระดับต่าสุดเป็นประวัติการณ์ และการขยายตัวของภาคการผลิตยูโรโซนที่ระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือนหนุนยูโรขึ้นทะลุระดับ 1.06 ดอลลาร์ ยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐบ่งชี้ถึงการชะลอตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันและลดลงสู่ระดับต่าสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2009 ยูโรบวก 0.7% สู่ 1.0640 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นวันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย.
(+)ผลสารวจ ISM ชี้ภาคการผลิตสหรัฐหดตัวครั้งแรกรอบ 3 ปีในเดือนพ.ย. ผลสารวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ภาคการผลิตของสหรัฐหดตัวลงในเดือนพ.ย.เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2012 ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของ ISM ร่วงลงสู่ระดับ 48.6% ในเดือนพ.ย. จากระดับ 50.1% ในเดือนต.ค. การร่วงลงของดัชนีได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ และการแข็งค่าของดอลลาร์ นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.5 ในเดือนพ.ย. ดัชนี PMI ที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว ขณะที่ดัชนีที่ต่ากว่า 50 บ่งชี้ถึงการหดตัว
(-)สหรัฐเผยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งแตะระดับสูงสุดรอบเกือบ 8 ปีในต.ค กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้นมากกว่าคาดในเดือนต.ค. โดยเพิ่มขึ้น 1.0% สู่ระดับ 1.11 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2007 หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ย. ตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลง ขณะที่มีความอ่อนแอในภาคการผลิต นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนต.ค. การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่พุ่งขึ้นในเดือนต.ค.ได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายในภาครัฐ และเอกชน
(-)เรดบุ๊ค รีเสิร์ชเผยดัชนีค้าปลีกเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนพ.ย. เรดบุ๊ค รีเสิร์ช รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีค้าปลีกจอห์นสัน เรดบุ๊ค ซึ่งเป็นยอดขายของร้านค้าที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบกับเดือนต.ค. ขณะที่ตัวเลขเป้าหมายอยู่ที่ระดับ 1.9% ส่วนยอดขายที่มีการปรับค่าตามฤดูกาล เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตัวเลขเป้าหมายอยู่ที่ 2.2% สาหรับช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพ.ย. ยอดขายพุ่งขึ้น 3.9% เมื่อเทียบรายปี ยอดขายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ปัจจัยหนุนจากการลดราคา การส่งเสริมการขาย และการขยายเวลาเปิดห้างสรรพสินค้าในวัน Black Friday หลังวันขอบคุณพระเจ้า
ข่าวเด่น