คำแนะนำ
เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,067-1,062(ตัดขาดทุนหากหลุด $1,062) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน
ทองคำ
แนวรับ 1,067 1,062 1,046
แนวต้าน 1,080 1,088 1,100
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคาสปอตสหรัฐฯ วานนี้ปรับตัวขึ้น 4.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทาจุดต่าสุดเพียง 1,067 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยตลาดมีแรงซื้อเข้ามาไม่มากนัก ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย แต่สภาวะแวดล้อมยังคงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะประเด็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า ทำให้สินทรัพย์ต่างๆจะมีความผันผวนที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าเงินบาท ซึ่งกำลังมีแนวโน้มอ่อนค่า เบื้องต้นตลาดทองคำกำลังรอความชัดเจนจากประเด็นข้างต้น ทำให้ในบางช่วงเวลามักจะมีแรงขายเมื่อราคาปรับตัวขึ้นไป เพื่อรอดูสถานการณ์ ขณะที่กองทุน SPDR ในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดการถือครองทองคำลงถึง 16 ตัน สะท้อนแรงกดดันที่มีในตลาดได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคำยังคงติดแนวต้านในโซน 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เบื้องต้นหากทะลุไปได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 1,088 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับประเมินที่ 1,067-1,062 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน
ยังคงเน้นการเก็งกำไรตามกรอบราคา โดยโซน 1,067-1,062 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นจุดเสี่ยงเข้าซื้อ (ตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,062 ดอลลาร์ต่อออนซ์ลงมา) ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจพิจารณาบริเวณ 1,088 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากทะลุ 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไป)
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(+)เรดบุ๊ค รีเสิร์ชเผยดัชนีค้าปลีกลดลง 0.6% ในสัปดาห์ที่แล้ว เรดบุ๊ค รีเสิร์ช รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีค้าปลีกจอห์นสัน เรดบุ๊ค ซึ่งเป็นยอดขายของร้านค้าที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ ลดลง 0.6% ในสัปดาห์แรกของเดือนธ.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนพ.ย. ขณะที่ตัวเลขเป้าหมายอยู่ที่ ลดลง 0.2% ส่วนยอดขายที่มีการปรับค่าตามฤดูกาล เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตัวเลขเป้าหมายอยู่ที่ เพิ่มขึ้น 2.3% เรดบุ๊คระบุว่า ยอดขายในช่วงฤดูหนาวมักได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ ทาให้การคาดการณ์ทาได้ยากลาบาก
(+)สำนักงานสถิติเผยจีดีพียูโรโซนขยายตัว 0.3% ในไตรมาส 3 สานักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส และพุ่งขึ้น 1.6% เมื่อเทียบรายปี ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับตัวเลขประมาณการเบื้องต้น และตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ การขยายตัวในไตรมาส 3 ได้รับปัจจัยบวกจากการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน และในภาครัฐ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของสต็อกสินค้า ขณะที่การใช้จ่ายด้านการลงทุนทรงตัว อย่างไรก็ดี ปริมาณการนาเข้าที่สูงกว่าการส่งออกเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาส 3
(-)น้ำมันดิบร่วงลงแตะจุดต่าสุดในรอบเกือบ 7 ปี ราคาน้ามันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดตลาดร่วงลงในวันอังคาร หลังจากดิ่งลงไปแตะจุดต่าสุดในรอบเกือบ 7 ปี หรือจุดต่าสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2009 ในระหว่างวัน โดยราคาน้ามันได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า ประเทศผู้ผลิตน้ามันจะผลิตน้ามันดิบออกมามากยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ทั้งนี้ ราคาน้ามันดิบส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 14 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 37.51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 36.64-38.58 ดอลลาร์ ราคาน้ามันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 47เซนต์ หรือกว่า 1 % สู่ 40.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 39.81-41.45 ดอลลาร์
(-)ดอลล์แข็งค่าเทียบสกุลเงินของปท.ส่งออกน้ามัน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่ส่งออกน้ามัน โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา และแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อเทียบกับโครนนอรเวย์ เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับปริมาณน้ามันส่วนเกินและอุปสงค์ที่อ่อนแอฉุดราคาน้ามันดิบร่วงลงใกล้ระดับต่าสุดในรอบ 7 ปี ราคาน้ามันที่ลดลงและราคาโลหะที่อ่อนแอสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกจะออกมาตรการกระตุ้นมากขึ้นเพื่อทาให้สกุลเงินอ่อนค่าลงเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ส่งออก
ที่
ข่าวเด่น