ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
YLG แนะลงทุนทอง เน้นเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมา 1,057 หรือ 1,046 และตัดขาดทุนเมื่อราคาทองหลุด 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์


คำแนะนำ
  

เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,057(ตัดขาดทุนหากหลุด $1,046) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน

ทองคำ
  

แนวรับ 1,057 1,046 1,040
  

แนวต้าน 1,072 1,079 1,088

ปัจจัยพื้นฐาน

   

ราคาทองคำรอบสัปดาห์ปรับตัวลง 7.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยผลการประชุมของเอฟโอเอมซีออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งที่ประชุมมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Fed Fund Rate) จากเดิม 0-0.25% เป็น 0.25-0.50% เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าไปยังเป้าหมายที่ 2.0% และในปี 2015 ตลาดแรงงานได้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เบื้องต้นจะเห็นได้ว่าราคาทองคาเริ่มดีดตัวขึ้นในช่วงท้ายสัปดาห์หลังจากที่ราคาลงทาจุดต่าสุดในบริเวณ 1,047 ดอลลาร์ต่อออนซ์(จุดต่าสุดเดิมอยู่ที่ 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และเมื่อราคาทองคาไม่ทาจุดต่าสุดใหม่ แรงซื้อจึงเกิดขึ้นทาให้ต้องติดตามต่อเนื่องไป ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ากองทุน SPDR ได้เข้าซื้อทองคาตลอดทั้งสัปดาห์ถึง 14.28 ตัน หากยังเข้าซื้อต่อเนื่องอาจจับตาดูเนื่องจากกองทุนดังกล่าวสามารถสะท้อนความน่าสนใจของตลาดทองคาได้บ้าง

ปัจจัยเทคนิค

   

ราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมาชะลอการปรับตัวลงหลังจากราคาไม่ทาจุดต่าสุดใหม่( จุดต่าสุดก่อนหน้าอยู่บริเวณ 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เบื้องต้นหากยังดีดตัวต่อเนื่องจะมีแนวต้านบริเวณ 1,072-1,079 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่หากเผชิญแรงขายจะมีแนวรับในบริเวณ 1,057 และ 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน
   

ยังเน้นการเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาในบริเวณ 1,057 หรือ 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนเมื่อราคาทองคาหลุด 1,046 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจต้องชะลอหากราคายืนเหนือ 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

ข่าวสารประกอบการลงทุน
   

(+)มาร์กิตเผยดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐเดือนธ.ค.ดิ่งต่าสุดในปีนี้ บริษัทมาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสารวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นสาหรับภาคบริการของสหรัฐ ชะลอตัวสู่ระดับ 53.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในปีนี้ ลดลงจากตัวเลขเดือนพ.ย.ที่ระดับ 56.1 อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 56.2 ในเดือนธ.ค. การร่วงลงของดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจใหม่ บ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศได้อ่อนแอลง
   

(+/-)โอเปกคาดราคาน้้ำมันต่่ำกว่า 100 ดอลลาร์ในระยะยาว แต่ฟื้นจากระดับปัจจุบัน กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ามัน (โอเปก) ระบุคาดการณ์ในวันนี้ว่า ราคาน้ามันจะยังคงต่ากว่า 100 ดอลลาร์ในระยะยาว แต่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่าในปัจจุบัน เนื่องจากอุปสงค์น้ามันดิบจะพุ่งขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ในขณะนี้ ทั้งนี้ โอเปกระบุในรายงานแนวโน้มน้ามันโลกว่า โอเปกคาดว่าราคาน้ามันดิบอ้างอิงที่ผลิตโดยสมาชิกโอเปกจะมีราคา 70 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2020 และเพิ่มขึ้นแตะ 95 ดอลลาร์ในปี 2040 ขณะที่ราคาน้ามันในตะกร้าของโอเปกอยู่ที่ 31.49 บาร์เรลเมื่อวานนี้ การคาดการณ์ราคาน้ามันของโอเปกดังกล่าวถือว่าต่ากว่าการคาดการณ์ในปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 95.40 บาร์เรลในปี 2020 และ 101.60 ดอลลาร์ในปี 2040 อย่างไรก็ดี โอเปกปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้้ำมันในระยะกลาง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 97 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2020 เทียบกับการคาดการณ์ 96.9 ล้านบาร์เรลในรายงานฉบับที่แล้ว และ 92.88 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2015
    

(+/-)กสิกรฯคาดเงินบาทสัปดาห์กรอบ 36.00-36.30 จับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์ (21-25 ธ.ค.) ว่า จะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.00-36.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ประกอบด้วย รายงานนโยบายการเงินของ ธปท. ซึ่งจะมีการเปิดเผยตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจชุดใหม่ รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สาคัญ อาทิ จีดีพี ประจาไตรมาส 3/58 (รอบสุดท้าย)ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index)เดือน พ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือน ธ.ค. ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.ของญี่ปุ่น อนึ่ง ตลาดการเงินต่างประเทศหลายแห่ง จะปิดทาการในช่วงวันทาการท้ายๆ ของสัปดาห์ เนื่องในวันคริสต์มาส
   

(+/-)ธปท.เชื่อไทยรับมือเงินทุนเคลื่อนย้ายได้ มั่นใจศก.ปีหน้าเริ่มฟื้น นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในระยะข้างหน้านี้ความท้าทายที่สาคัญ คือ ความแตกต่างของนโยบายการเงินในประเทศอุตสาหกรรมหลักๆ อันจะมีผลต่อภาวะเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อเข้าสู่ภาวะอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เป็นปกติมากขึ้น ในขณะที่ธนาคารกลางของหลายประเทศยังอยู่ในภาวะที่ต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน ซึ่งนโยบายการเงินของแต่ละประเทศจะให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นๆ เอง อันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะก่อให้เกิดกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่มีความผันผวนมากขึ้นในอนาคต และจะกลับทิศทางจากที่เคยเป็นอยู่ในปัจจุบัน

"ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เป็นกลุ่มประเทศที่อาจจะมีความเสี่ยง เพราะตอนที่มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะจากธนาคารกลางสหรัฐในช่วงที่ดอกเบี้ยถูกๆ จะเห็นเงินไหลเข้าไปสู่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งจะมีศักยภาพการเติบโตที่ดีกว่า แต่ช่วงที่ต้นทุนการเงินเริ่มจะแพงขึ้น เราจะเห็นสภาพคล่องบางส่วนหรือเงินทุนบางส่วนไหลออกจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งในกรณีนี้คืออเมริกา" ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว


 


บันทึกโดย : วันที่ : 21 ธ.ค. 2558 เวลา : 11:14:43

24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 3:15 pm