คำแนะนำ
เสี่ยงซื้อในบริเวณ $1,063 หรือ $1,057(ตัดขาดทุนหากหลุด $1,046) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาทประกอบการตัดสินใจลงทุน
ทองคำ
แนวรับ 1,063 1,057 1,046
แนวต้าน 1,088 1,100 1,118
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯวานนี้ปรับตัวขึ้น 12.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยแรงซื้อยังเข้ามาต่อเนื่องหลังจากที่ราคาทองคำไม่สร้างจุดต่ำสุดใหม่ในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ประเด็นความกังวลในเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ได้ผ่อนคลายไปค่อนข้างมากแล้ว การเข้าซื้อจึงเริ่มเกิดขึ้นอีกทั้งราคาทองคำได้ปรับตัวลงมาค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากราคาทองคำไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ การซื้อยังดูค่อนข้างได้เปรียบโดยเฉพาะราคาทองคำในประเทศที่ค่าเงินบาทยังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า สำหรับวันนี้อาจต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ว่าจะเป็น จีดีพีไตรมาส3/58 ยอดขายบ้านมือสอง รวมไปถึงดัชนีภาคการผลิตจากเฟดสาขาริชมอนด์
ปัจจัยเทคนิค
ราคาทองคำดีดตัวขึ้นแต่ยังไม่สามารถยืนเหนือ 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างแข็งแกร่ง เบื้องต้นประเมินแนวต้านที่ 1,088 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากสามารถยืนได้มีโอกาสที่จะเกิดแรงซื้อตามมาอีก ขณะที่หากตลาดเผชิญแรงขายจะมีแนวรับที่ 1,063 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน
ยังเน้นการเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาในบริเวณแนวรับ โดยจุดเสี่ยงแรกจะอยู่ที่ 1,063 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และจุดต่อมาอยู่ที่ 1,057 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจต้องชะลอออกไปก่อนหากราคายืนเหนือ 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวสารประกอบการลงทุน
(+)บุนเดสแบงก์เผยศก.เยอรมนีขยายตัวต่อเนื่อง จากแรงหนุนการใช้จ่ายของผู้อพยพ ธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจเยอรมนียังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนนี้ โดยการใช้จ่ายของผู้อพยพ และรายได้ที่เพิ่มขึ้น ได้ช่วยผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ บุนเดสแบงก์ระบุว่า การร่วงลงของราคาน้ามันช่วยเพิ่มอานาจการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐสาหรับผู้อพยพ ก็ได้หนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 เช่นกัน ธนาคารกลางเปิดเผยว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาส 4 ได้สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ หลังจากเศรษฐกิจโต 0.3% ในไตรมาส 3 และ 0.4% ในไตรมาส 2
(+)เฟดชิคาโกเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตติดลบเดือนที่ 4 ในพ.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศประจาเดือนพ.ย.ปรับตัวลง ทั้งนี้ เฟดเปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตขยับลงสู่ระดับ -0.30 ในเดือนพ.ย. จาก -0.17 ในเดือนต.ค. ดัชนีติดลบเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ากว่าแนวโน้มในอดีต ทั้งนี้ ดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเป็นค่าดัชนีเฉลี่ยถ่วงน้าหนักจากการประมวลผลดัชนีเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วประเทศทั้งหมด 85 รายการ ซึ่งแบ่งออกหลายประเภท รวมไปถึง การผลิต รายได้ การจ้างงาน การใช้จ่ายส่วนบุคคล ยอดขายบ้าน คาสั่งซื้อ และสินค้าคงคลัง ดัชนีย่อยด้านการบริโภคส่วนบุคคล และยอดสร้างบ้านยังคงติดลบในเดือนพ.ย. แม้ขยับขึ้นจากเดือนต.ค. ขณะที่การจ้างงานยังคงเป็นบวก
(-)เบรนท์ดิ่งลงแตะจุดต่าสุดรอบ 11 ปี ราคาน้ามันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงเล็กน้อยในวันจันทร์ ส่วนราคาน้ามันดิบเบรนท์ดิ่งลงแตะจุดต่าสุดในรอบกว่า 11 ปี ในขณะที่อุปสงค์ในน้ามัน heating oil ดิ่งลง เนื่องจากอุณหภูมิอยู่ในระดับอบอุ่นกว่าปกติ และเทรดเดอร์พยายามทดสอบหาจุดต่าสุดของตลาด ทั้งนี้ ราคาน้ามันดิบส่งมอบเดือนม.ค.ขยับลง 1 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 34.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 33.98-34.86 ดอลลาร์ ราคาน้ามันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 53 เซนต์ สู่ 36.35ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 36.04-36.75 ดอลลาร์ โดยจุดต่าสุดของวันจันทร์ถือเป็นจุดต่าสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2004
ที่
ข่าวเด่น